วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552


ที่มา http://pioneer.netserv.chula.ac.th/~cpornth1/Web_SciProject/weba5/rachwarorose.htm





อ่านแล้วจะร้องไห้เลยค่ะ
วันสิ้นโลก.. ทําไมหนังต้องเจาะจงปี 2012

Written by Kittivud
อย่างที่เพื่อนๆทราบกันว่า ภาพยนตร์เรื่อง 2012 ของ Roland Emmerich จะเข้าฉายในวันที่ 10 กรกฎาคม 2009 นี้ ทําไมหนังต้องพูดถึงปี 2012 คําทํานายมายันคืออะไร ? ทําไมต้องเจาะจงปี 2012 ? (เหมือนภาพยนตร์หลายๆเรื่องที่ผ่านมา ก็มีการพูดถึงปีเดียวกันนี้) ผมได้รวบรวมคําทํานายมาให้อ่านในกระทู้นี้แล้วค่ะ

ชาวมายาคือใคร และอยู่ตรงไหน ?

อาณาจักร มายา ตั้งอยู่ในอเมริกากลาง มีพื้นที่บริเวณประเทศเม็กซิโกคาบเกี่ยวกับเบลีซและก ัวเตมาลา มีความรุ่งเรืองช่วง 500 ปีก่อนคริสตกาลจนถึง ค.ศ. 1502 มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่นครวากา ปัจจุบันคือ เอลเปรู มีอายุร่วมสมัยเดียวกับอารยธรรมเตโอตีอัวกาน (Teotihuacán) ซึ่งถือว่าเป็นอาณาจักรที่ใหญ่มากเพราะมีพื้นที่กินถึง ประเทศคือเม็กซิโก กัวเตมาลา และฮอนดูรัส

ตามประวัติ อาณาจักรแห่งนี้เจริญรุ่งเรืองไพศาลมาก มีอายุยาวนานนับได้ 2000ปี ตั้งแต่คริสต์ศักราช 250 อาณาจักรแห่งนี้มีซากสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่โตน่าทึ่งที ่สุด ไว้เป็นมรดกโลก และฝากปริศนาให้คนรุ่นหลังขบคิดกันว่าเกิดจากสาเหตุใ ด

อาณาจักร มายาเป็นอาณาจักรแสนยิ่งใหญ่ที่ประกอบด้วยเมืองเอกหล ายเมืองด้วยกันมีเมือง สำคัญหลายเมือง คือ เมืองติกัล (Tikal) เพเตน (Peten) ในประเทศกัวเตมาลา ปาเลงกอ (Palenque) ในภาคใต้ของประเทศเม็กซิโก เมืองโคปัน (Copan) ในประเทศฮอนดูรัส เมือง อิทซา (Itzar) อักซ์มัล (Uxmal) และมายาปัน (mayapan) ในบริเวณคาบสมุทรยูคาตัน เมืองของชาวมายาประกอบด้วยชุมชนเกษตรอยู่ชั้นนอก ชุมชนเมืองอยู่ชั้นในล้อมรอบจุดศูนย์กลางซึ่งเป็นบริ เวณสิ่งก่อสร้างที่ใช้ ประกอบพิธีกรรมต่างๆ ซึ่งสิ่งก่อสร้างนั้นมีหลายแบบ เช่น ปิรามิด วิหาร ปละปราสาทราชวัง ซึ่งสร้างจากศิลาล้วนๆ บ่บอกความเจริญรุ่งเรืองของชาวมายาอย่างดี

ในระหว่างปี พ.ศ. 800-1450 ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ยุโรปกำลังตกอยู่ในยุคมืดแห่งอวิ ชชา แต่สำหรับชาวมายานั้น ตามประวัติศาสตร์ได้จารึกว่า ในระยะเวลาดังกล่าว อารยธรรมมายาได้เจริญรุ่งเรืองสุดขีดมากๆได้สร้างพีร ะมิดและพระราชวังที่ มโหฬารและวิจิตรอลังการมากมาย
ที่มา http://www.thaigaming.com/forward-mail/71632.htm
ชาวมายามาจากไหนแน่

นักโบราณคดีหลายคน ต่างพยายามศึกษาความเป็นมาของเผ่านี้ จากหลักฐานโบราณคดีที่เหลืออยู่ แต่ก็สับสนอยู่ดีว่าพวกเขามาจากไหนกันแน่

มี ศิลาจารึกขนาดใหญ่ ที่เขียนข้อความอย่างละเอียดเต็มไปหมด ตั้งตระหง่านอยู่กลางเมือง ซึ่งแสดงว่าชาวมายามีภาษาเป็นของตนเองและชอบบันทึกปร ะวัติศาสตร์ แต่..น่าเสียดาย ในข้อความศิลาจารึกนั้นกลับไม่มีใครสักคนที่อ่านออก ตีความได้สักคนเดียว

สิ่งที่เรารู้เกี่ยวกับมายา สันนิษฐานว่า ชาวมายาอาจสืบเชื้อสายมาจากอิสราเอล ไม่ก็กรุงทรอย คาร์เธจ ฮั่น แอตแลนติส ฯลฯปกครองด้วยระบบกษัตริย์ เรียกว่า คูฮุลอะฮอว์ (K'uhul ajaw) หรือ เทวกษัตริย์ ใช้อักษรภาพในการบันทึก มีความสามารถทางดาราศาสตร์ จนสามารถทำนายเวลาเกิดสุริยุปราคาและจันทรุปราคาได้ล ่วงหน้าเป็นเวลานาน รู้จักทำปฏิทินใช้ รู้จักประดิษฐ์เลขศูนย์ใช้ในวิชาคณิตศาสตร์ รู้จักค้าขายเกลือ หยก และเครื่องปั้นดินเผา แต่ชาวมายาไม่รู้จักใช้ล้อและไม่รู้จักการถลุงแร่ ซึ่งแสดงว่าชาวมายาดำรงชีวิตเหมือนมนุษย์หินที่รู้จั กใช้เพียงไม้ กระดูกสัตว์ หินปูน และหินทรายในการสร้างเมือง

นอกจากนี้ ชาวมายานับถือเทพเจ้ามาก และมีเทพเจ้ามากมาย ทั้งสุริยเทพ วสันตเทพ และมรณเทพ เทพเจ้าเหล่านี้ทรงโปรดปรานการเสวยเลือด ดังนั้น เหล่าเชลยศึกสงครามจะถูกชาวมายาฆ่าเพื่อเอาเลือดไปถว ายเทพ(บางครั้งก็เลือก กันเองในเผ่า)

แน่นอนมีตำนานเกี่ยวกับที่มาของชนเผ่านี้ด้วย จากคำบอกเล่าว่ากันว่า ชาวมายาสืบเชื้อสายจากพระเจ้าผิวสีขาว มีเครายาว และเดินทางมาจากฟากฟ้าโพ้น.อาณาจักรมายามีซากสิ่งก่อสร้างหลายแห่งหลายที และแต่ละที่นั้นถูกขึ้นบัญชีเป็นมรดกโลกทั้งสิ้น
ติ กัล (Tikal) มีพีระมิดของชาวมายา สูง 212 ฟุต บนยอดวิหารมีห้องมากมาย มีแท่นบูชากับหินแกะสลักอักษรภาพเป็นจำนวนมาก ตามฝาผนังของวิหารก็มีรูปสลักเต็มแทบทุกด้าน
เปเตน (Peten)
ปาเลงเก (Palenque) มีสิ่งก่อสร้างที่สร้างโดยปากัล พบหลุมศพจำนวนมากและในวิหารแห่งศิลาจารึก (Temple of the Inscriptions)ซีบิลชัลตุน (Dzibilchaltun) มีวิหารขนาดใหญ่ที่ชื่อว่า The Temple of the Seven Dolls





นัก โบราณคดียุคปัจจุบันต่างตื่นตะลึงกับสิ่งก่อสร้างอัน มหัศจรรย์มากมายของชาว มายาซึ่งไม่ใช้เครื่องมือโลหะในการก่อสร้างเลย เช่น วิหารรูปทรงพีระมิด ราชวังและหอดูดาว เป็นต้น ยอดพีระมิดของชาวมายาจะแบนราบต่างจากพีระมิดของชาวอี ยิปต์ พีระมิดที่เมืองติกัลสูงถึง 212 ฟุต บนส่วนยอดมีห้องมากมาย และแท่นบูชากับหินแกะสลักอักษรภาพ ราชวังของเมืองติกัลเป็นอาคาร 4 ชั้น มีห้องมากถึง 42 ห้อง และเมืองอักซ์มัลมีโรงละครขนาดใหญ่ มันช่างอลังการเหลือเกินอย่าว่าแต่สมัย โบราณเลย เพราะจนถึงปัจจุบันนี้การสร้างสิ่งก่อสร้างแบบนี้นับ ว่ายากมากๆนอกจากนี้ยังมีการสันนิษฐานถึงทฤษฏีพระเจ้าจากอวกาศหลัก ฐานสำคัญเกี่ยวกับพระเจ้าของชาวมายานี่ก็อีก รูปสลักภาพวาดแต่ละภาพล้วนสวยงามตามเอกลักษณ์แบบศิลป มายา แต่ก็น่าแปลกที่พระเจ้าของพวกเค้าล้วนพิลึกกึกกือเป็ นที่สุด บางรูปเป็นรูปพระเจ้าขับยานอวกาศ บางภาพเป็นรูปสาวกของพระเจ้ากำลังปราบปีศาจร้าย และอาวุธที่อยู่ในมือ นักโบราณคดีต่างลงความเห็นว่า มันคือปืนอย่างไม่ต้องสงสัย เมื่อสองพันกว่าปีก่อนมีปืนใช้กันแล้วหรือครับ? ภาชนะบางชิ้นของพวกเขาก็เช่นกัน ถ้วยบางชิ้นมีภาพวาดของมนุษย์สวมหมวกอวกาศ ที่มา http://www.thaigaming.com/forward-mail/71632.htm


ชาวมายาหายไปไหน

ทุก วันนี้นักโบราณคดียังคงศึกษาอาณาจักรมายันเพื่อไขปริ ศนากันต่อไป ทอม เชฟเวอร์ นักโบราณคดีหนึ่งเดียวขององค์การนาซาจากศูนย์การบินอ วกาศมาร์แชล ก็เป็นคนหนึ่ง เชฟเวอร์และทีมงานทำการศึกษาซากเมืองเพเตนในประเทศกั วเตมาลา ซึ่งติดกับพรมแดนเม็กซิโก โดยการขุดค้นหาหลักฐานใต้พื้นดินและใช้รีโมตเซนซิ่งห าหลักฐานที่สายตามนุษย์ มองไม่เห็น

สิ่งที่เชฟเวอร์ค้นพบใต้พื้นดินทั่วทั้งบริเวณของ เมืองร้างแห่งนี้คือเรณูของต้นหญ้าแทนที่จะเป็นเรณูข องต้นไม้ใหญ่ หลักฐานนี้แสดงว่าป่าไม้ของเมืองเพเตนลดลงกินบริเวณก ว้างเมื่อประมาณ 1,200 ที่ผ่านมา

ทีมงานบอกว่าเมื่อไม่มีป่าฝนก็จะเกิดการกัดเซาะและกา รระเหยของน้ำ และการกัดเซาะจะรุนแรงจนกวาดเอาปุ๋ยที่หน้าดินไปจนหม ดสิ้น หลักฐานการกัดเซาะได้ถูกค้นพบในชั้นดินตะกอนในทะเลสา บ

ยิ่ง ไปกว่านั้นการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ปกคลุมพื้นดินคือป่า ไม้จะทำให้อุณหภูมิสูง ขึ้น บ๊อบ โอเกิลส์บี นักวิทยาศาสตร์ด้านอากาศของศูนย์การบินอวกาศมาร์แชลห นึ่งทีมงานใช้แบบจำลอง คอมพิวเตอร์คำนวณผลแล้วปรากฏว่าอุณหภูมิจะสูงขึ้น 5-6 องศาเซลเซียส การที่อุณหภูมิสูงขึ้นมีผลทำให้ผืนแผ่นดินแห้งแล้งซึ ่งไม่เหมาะต่อการเจริญ เติบโตของพืช

นอกจากนั้นอุณหภูมิที่สูงขึ้นจะมีผลกระทบต่อ การมีฝนด้วย ดังนั้นในฤดูแล้งเมืองเพเตนจะตกอยู่ในสภาพขาดแคลนน้ำ ขณะที่น้ำใต้พื้นดินก็ลึกถึง 500 ฟุต จนไม่สามารถจะขุดนำมาใช้ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ชาวมายาจะต้องอาศัยการเก็บกักน้ำในอ ่างเก็บน้ำแต่มันก็คงจะ ระเหยไปจนไม่ทันได้ใช้

ขณะที่อาณาจักรมายันมีประชากรจำนวน มากซึ่งจำเป็นจะต้องใช้อาหารและน้ำเป็นจำนวนมากด้วย การศึกษาพบว่าประมาณคริสต์ศักราช 800 เมืองของชาวมายามีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นมาก ในพื้นที่ชนบทมีประชากร 500-700 คนต่อหนึ่งตารางไมล์ และ 1,800-2,600 คนต่อหนึ่งตารางไมล์ในบริเวณศูนย์กลางของอาณาจักรทาง ตอนเหนือของประเทศ กัวเตมาลา พอๆ กับนครลอสแองเจลิสในปี 2000 ซึ่งมีประชากร 2,345 คนต่อหนึ่งตารางไมล์ จนกระทั่งถึงคริสต์ศักราช 950 ก็เกิดความหายนะ " บางทีราว 90-95% ของชาวมายาต้องตายไป" เชฟเวอร์กล่าว

หลัก ฐานที่สนับสนุนความเป็นไปได้ก็คือ การพบว่ากระดูกของชาวมายาซึ่งมีชีวิตอยู่ในราวสองสาม ทศวรรษก่อนอาณาจักรมา ยันจะล่มสลายซึ่งแสดงว่าเป็นโรคขาดอาหารอย่างรุนแรง

เชฟเวอร์ สรุปการศึกษาในครั้งนี้ว่า นักโบราณคดีเคยโต้เถียงกันมานานว่า สาเหตุของการล่มสลายว่าเป็นเพราะความแห้งแล้ง หรือสงคราม หรือโรคระบาดอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ตอนนี้ทีมงานของเขาคิดว่าทั้งหมดล้วนมีบทบาท ทว่าสาเหตุหลักก็คือ การขาดอาหารและน้ำอย่างยาวนาน ซึ่งเกิดจากความแห้งแล้งทางธรรมชาติผสมผสานกับการทำล ายป่าไม้ของมนุษย์ และ เขาคิดว่าการเรียนรู้ว่าชาวมายาทำอะไรถูกต้องและทำอะ ไรผิดพลาดจะช่วยให้ ประชาชนพบวิถีทางที่ยั่งยืนในการทำการเกษตร โดยจะหยุดยั้งการทำสิ่งที่เลยเถิดในช่วงเวลาอันสั้นซ ึ่งเคยทำลายชาวมายามา แล้ว



ภาพ : สัญลักษณ์ของชาวมายาบทความจาก
นสพ.ไทยรัฐ

ทฤษฎี ที่โด่งดังมากสุดคงต้องยกให้กับคำทำนาย ที่ว่า โลกบูดเบี้ยวใบนี้จะแตกดับในวันที่ 21 ธ.ค. 2012 หรืออีกแค่ 5 ปีข้างหน้า...ด้วยชุดเลขสวย 212012

ทฤษฎีนี้คิดค้นขึ้นโดยชนเผ่ามา ยัน วันดังกล่าวถือเป็นวันสิ้นสุดปฏิทินลอง เคาต์ (Long Count) หรือ ปฏิทินลำดับที่ 3 ของชาวมายัน โดยปฏิทินลอง เคาต์ เล่มล่าสุดนั้น เริ่มต้นในปี 3114 ก่อนคริสตกาล และจะดำเนินต่อเนื่องเป็น 13 รอบบักตุน (baktun) กินเวลาทั้งสิ้นราว 5,126 ปี บวกลบออกมาแล้วก็ตรงกับปี 2012 พอดิบพอดี

การเริ่มต้นของ 13 รอบบักตุน เรียกได้อีกอย่างว่า อาทิตย์ดวงที่ 5 ซึ่ง ช่วงเวลาดังกล่าวจะเวียนมาบรรจบเพื่อก่อกำเนิดดวงอาท ิตย์ครบ 5 ดวง ในวันที่ 21 ธ.ค. 2012 โดยคำทำนายระบุเอาไว้ว่า ในวันนั้นโลกจะเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงครั้งมโหฬาร ไล่เรียงตั้งแต่ภัยธรรมชาติที่จะทำลายทุกสิ่งไปจนถึง สงครามอภิมหาโลกาวินาศ จนไม่มีมนุษย์คนใดมีชีวิตรอด ซึ่งอย่างหลังนี้อาจเชื่อมโยงได้กับทฤษฎีสงครามโลกคร ั้งที่ 3 ของนอสตราดามุส โหราจารย์ชื่อก้อง

สถานการณ์น่าระทึกในวันอวสานโลก ข้างต้นตามจินตนาการข อง อง โคลด โคเวน นักเขียนหนังสือแนวอภิปรัชญาชาวฝรั่งเศส บรรยายว่า ให้นึกถึงภาพตัวเองอยู่ในสถานีรถไฟอันแออัดตอนเช้า แล้วทันใดนั้นก็เกิดเหตุโกลาหลครั้งใหญ่ทั้งธรรมชาติ แปรปรวนและระบบ คอมพิวเตอร์หรือระบบควบคุมการทำงานของเครื่องจักรเคร ื่องยนต์ต่างๆ ขัดข้อง จนเป็นเหตุให้ขบวนรถไฟในชานชาลาพากันวิ่งออกไปคนละทิ ศ คนละทาง คล้ายกับซี่วงล้อเกวียน

ในสถานการณ์อันเลวร้ายเช่นนั้นยังกดดันให้ คุณจำเป็นต้องเลือกขึ้นรถไฟสัก ขบวน อย่างน้อยก็ยังรอดจากการโดนรถไฟทับตาย แต่น่าเสียดายเหลือเกินที่คุณไม่มีทางรู้เลยว่า รถไฟขบวนที่หลับหูหลับตาขึ้นไปนั้นจะพาคุณไปไหน

น่าแปลกที่นอกจาก 212012 จะเป็นวันสุดท้ายของปฏิทินชนเผ่ามายันแล้ว ยังมีข้อมูลทางดาราศาสตร์ที่ระบุไว้ว่า จะ เกิดพลังงานลึกลับที่จะเปลี่ยนแปลงโลกไปตลอดกาล โดยในเวลาที่ดวงอาทิตย์อยู่ห่างจากเส้นศูนย์สูตรมากท ี่สุดในช่วง ฤดูหนาวของปี 2012 นั้น ดวงอาทิตย์จะอยู่ในระนาบเดียวกับใจกลางของทางช้างเผื อกเป็นครั้งแรกในรอบ 2.6 หมื่นปี ซึ่งหมายความว่า พลังงานทุกประเภทจากใจกลางของทางช้างเผือกจะถาโถมและ เกิดการปะทะกับพลังงาน ทั้งที่มองเห็นและมองไม่เห็นของโลกในวันที่ 21 ธ.ค. 2012 เวลา 23.11 น. (11.11 pm ตามเวลาสากล)

สมมติว่า มีมนุษย์เหลือรอดบนโลก ก็ไม่อาจรู้ว่าจะจำตัวเองได้หรือไม่ เนื่องจากพลังงานทั้งหลาย แหล่ข้างต้นจะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของ ดีเอ็นเอ นำมาซึ่งการกลายพันธุ์ หรือสรุปคร่าวๆ ได้ว่า ถึงตอนนั้นโลกจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง คนที่รอดต้องดิ้นรนสร้างสิ่งต่างๆ นับจากศูนย์

นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลทางธรณีวิทยาที่ชี้ว่า ปี 2012 คือปีที่ซูเปอร์โวลคาโน หรือภูเขาไฟใต้น้ำครบกำหนดเวลา 7.4 หมื่นปีที่จะทำลายหรือระเบิดตัวเอง โดยสัญญาณเตือนภัยครั้งล่าสุด คือ โศกนาฏกรรมคลื่นยักษ์สึนามิเมื่อปี 2004 ที่บอกให้ชาวโลกรู้ว่า โครงสร้างพื้นผิวโลกได้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ และการระเบิดของซูเปอร์โวลคาโนอาจไม่ใกล้ไม่ไกลบริเว ณที่เคยเกิดสึนามิมา ก่อน

และเป็นที่น่าสังเกตว่า ระยะหลังมานี้ เกิดเหตุแผ่นดินไหว ดินถล่ม และน้ำในแม่น้ำหรือทะเลสาบเหือดแห้งบ่อยครั้งทั่วโลก เป็นไปได้ที่ส่วนหนึ่งเกิดจากภาวะโลกร้อน แต่ก็ไม่อาจปฏิเสธได้เช่นกันว่าโครงสร้างของพื้นผิวโ ลกกำลังขยับและเปลี่ยน แปลงตัวเองโดยที่มนุษย์ไม่รู้ตัว
ที่มา http://www.thaigaming.com/forward-mail/71632.htm







วันพุธที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2552






กำหนดการประเพณีลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ จังหวัดสุโขทัย ประจำปี 2552
วันที่ 31 ตุลาคม – 2 พฤศจิกายน 2552 ณ อุทยานประวัติศาสดร์สุโขทัยวันเสาร์ที่ 31 ตุลาคม2552 (วันขึ้น 13 ค่ำเดือน 12)

กิจกรรม

เวลา 05.30 น. พิธีรับรุ่งอรุณแห่งความสุข ณ อุโบสถวัดตระพังเงิน -ตักบาตรข้าวสารอาหารแห้งแด่พระสงฆ์ 9 รูป -พระสงฆ์เจริญพุทธมนต์ เจริญพุทธมนต์ เจริญชัยมงคลคาถา ประพรมน้ำพระพุทธมนต์

เวลา 07.45 น. หัวหน้าส่วนราชการในจังหวัด นายอำเภอทุกอำเภอ ผู้บริหารสถาบันการศึกษา หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ข้าราชการทุกฝ่าย ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด สมาชิกสภาเทศบาล พนักงานส่วนท้องถิ่น สมาชิกเหล่ากาชาดจังหวัด สมาชิกองค์กร ภาคเอกชน นักเรียนนักศึกษา พ่อค้าและประชาชน ทุกเหล่าพร้อมกัน ณ บริเวณพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

เวลา 08.00 น. พิธีบวงสรวงบุรพกษัตริย์สุโขทัย ทุกพระองค์ ณ บริเวณพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
-ประธานในพิธีจุดเทียนสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
-ประธานในพิธีถวายพวงมาลัยคล้องพระแสง
-ประธานในพิธีจุดเทียนชัยที่โต๊ะเครื่องบวงสรวง
-เสร็จพิธีพราหมณ์
-รำบวงสรวง
-สวดสรภัญญะ
-เสร็จพิธีบวงสรวง

เวลา 09.45 น. พิธีสงฆ์ (ดำเนินการต่อเนื่องจากพิธีบวงสรวง)
-พระสงฆ์ 10 รูป พร้อม ณ บริเวณ พิธีข้างลานพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
-ประธานในพิธีจุเทียนบูชาพระรัตนตรัย
-พิธีกรอาราธนาศีล
-ประธานสงฆ์ให้ศีล
-พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์
-ประธานในพิธีประจำ ณ แท่นพิธี
-ประธานจัดกล่าวรายงาน
-ประธานในพิธีกล่าวเปิดงานประเพณีลอยกระทงฯ ประจำปี 2552
-ประธานในพิธีลั่นฆ้อง 3 ครั้ง พนักงานจุพลุ ดุริยางค์บรรเลงเพลงมหาฤกษ์
-พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา -ประธานในพิธีและคณะถวายจตุปัจจัยไทยธรรมแด่พระสงฆ์
-พระสงฆ์อนุโมทนา (เสร็จพิธีสงฆ์)

เวลา 10.00 น. ตั้งองค์กฐิน ณ บริเวณลานโพธิ์เวลา 11.00 น. การประกวดโคมชักโคมแขวน ณ บริเวณลานพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
-กิจกรรมเล่านิทานพื้นบ้านด้วยภาษาท้องถิ่นสุโขทัย ณ บริเวณลานวัฒนธรรมด้านหลังวัดชนะสงคราม
-การแข่งขันและการแสดงกีฬาพื้นบ้านหน้าวัดมหาธาตุ
-การแข่งขันหมากรุกไทย
-การแสดงกระบี่กระบอง
-การสาธิตมวยคาดเชือก
-การสาธิตว่าวไทย
-การสาธิตพุทธศิลป์สุโขทัย ณ บริเวณลานโพธิ์หน้าพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

เวลา 16.00 น. การแสดงหมากรุกไทย (คน) โดยใช้นักแสดงจากนาฏศิลป์สุโขทัย ณ ลานพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช -การแสดงหมู่บ้านวิถีไทยสมัยกรุงสุโขทัย ณ ศาลา 4 หลัง

เวลา 17.00 น. การแสดงดนตรีไทย ณ บริเวณวัดชนะสงคราม บริเวณวัดสระศรี บริเวณหน้าประตู ทางเข้าอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ด้านประตูใหญ่ และบริเวณวัดตระพังเงิน

เวลา 18.00 น. กิจกรรมข้าวขวัญวันเล่นไฟ ณ หน้าวัดมหาธาตุ

เวลา 19.00 น. การแสดงประกอบ แสง สี เสียง ณ บริเวณวัดมหาธาตุ

เวลา 20.00 น. การแสดงนาฏศิลป์ 4 ภาค ณ โรงละครกลางแจ้ง

เวลา 21.00 น. การแสดงโขน ณ บริเวณด้านหลังวัดชนะสงคราม

วันอาทิตย์ที่ 1 พฤศจิกายน 2552 (วันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 12)

กิจกรรม

เวลา 05.30 น. พิธีรับอรุณแห่งความสุข ณ อุโบสถวัดตระพังเงิน
-ตักบาตรข้าวสารอาหารแห้งถวายแด่พระสงฆ์ 9 รูป
-พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ เจริญชัยมงคลคาถา ประพรมน้ำพระพุทธมนต์

เวลา 09.00 น. ขบวนแห่ผ้ากฐินทาน ไปทอดถวาย ณ วัดตระพังทอง

เวลา 09.30 น. ขบวนแห่พระเวสสันดร และตัวละครเทศน์มหาชาติ เริ่มขบวนที่หน้าศาลเจ้าผาดำ ไปสิ้นสุด ณ ลานวัฒนธรรม

เวลา 10.00 น. การแข่งขันกีฬาพื้นบ้านหมากรุกไทย (รอบชิงชนะเลิศ) ณ บริเวณลานกีฬาพื้นบ้านหน้าวัดมหาธาตุ
-การแสดงกรี่กระบอง
-การสาธิตมวยคาดเชือก
-การสาธิตพุทธศิลป์สุโขทัย ณ บริเวณลานโพธิ์หน้าพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราชเวลา 11.00 น. จัดแสดงกระทงเล็ก พนมหมาก พนมดอกไม้ ณ บริเวณหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

เวลา 16.00 น. การแสดงหมากรุกไทย (คน) โดยใช้นักแสดงจากนาฏศิลป์สุโขทัย ณ ลานพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช -การแสดงหมู่บ้านวิถีไทยสมัยกรุงสุโขทัย ณ ศาลา 4 หลัง

เวลา 17.00 น. การแสดงดนตรีไทย ณ บริเวณวัดชนะสงคราม บริเวณวัดสระศรี บริเวณหน้าประตู ทางเข้าอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ด้านประตูใหญ่ และบริเวณวัดตระพังเงิน

เวลา 18.00 น. กิจกรรมข้าวขวัญวันเล่นไฟ ณ หน้าวัดมหาธาตุ

เวลา 19.00 น. ชมขบวนอัญเชิญพระประทีป และกระทงพระราชทาน ณ บริเวณหน้าเทศบาลสุโขทัยธานี

เวลา 20.00 น. การแสดงนาฏศิลป์ 4 ภาค ณ โรงละครกลางแจ้ง

เวลา 21.00 น. การแสดงโขน ณ บริเวณด้านหลังวัดชนะสงคราม
เวลา 22.30 น. การแสดงตำนานเรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ณ บริเวณสระน้ำตระพังตระกวน

วันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน 2552 (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12)

กิจกรรม

เวลา 05.30 น. พิธีรับอรุณแห่งความสุข ณ อุโบสถวัดตระพังเงิน
-ตักบาตรข้าวสารอาหารแห้งถวายแด่พระสงฆ์ 9 รูป
-พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ เจริญชัยมงคลคาถา ประพรมน้ำพระพุทธมนต์

เวลา 08.00 น. ชมขบวนอัญเชิญพระประทีป และกระทงพระราชทานแห่รอบเมืองสุโขทัยธานีเวลา 10.00 น. ประกวดการเล่านิทานพื้นบ้านด้วยภาษาท้องถิ่นสุโขทัย ณ ด้านหลังวัดชนะสงคราม (รอบชิงชนะเลิศ)
-การสาธิตพุทธศิลป์สุโขทัย ณ บริเวณลานโพธิ์หน้าพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
เวลา 13.45 น. ขบวนอัญเชิญพระประทีป และกระทงพระราชทาน ขบวนแห่ประเพณีวัฒนธรรม 9 อำเภอ กระทงใหญ่ กระทงเล็ก โคมชักโคมแขวน พนมหมากพนมดอกไม้ หมากรุกไทยนางนพมาศ และหนูน้อยนพมาศ ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ ประธานต้อนรับขบวนแห่พระพระทีปฯ ณ บริเวณตระพังตาล

เวลา 16.00 น. การแสดงหมู่บ้านวิถีไทยสมัยกรุงสุโขทัย ณ ศาลา 4 หลัง

เวลา 17.00 น. การแสดงดนตรีไทย ณ บริเวณวัดชนะสงคราม บริเวณวัดสระศรี บริเวณหน้าประตู ทางเข้าอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ด้านประตูใหญ่ และบริเวณข้างสระน้ำตระพังตาล

เวลา 17.30 น. ประธานมอบรางวัลแก่ผู้ชนะการประกวด กระทงใหญ่ กระทงเล็ก โคมชักโคมแขวน พนมหมากพนมดอกไม้ หมากรุกไทยนางนพมาศ หนูน้อยนพมาศ และผู้ชนะการเล่านิทานพื้นบ้านด้วยภาษาท้องถิ่นสุโขทัย ณ บริเวณเวทีกลางหมู่บ้านวัฒนธรรมด้านหลังวัดชนะสงคราม

เวลา 18.00 น. กิจกรรมข้าวขวัญวันเล่นไฟ ณ หน้าวัดมหาธาตุ

เวลา 19.30 น การแสดงประกอบ แสง เสียง ณ บริเวณวัดมหาธาตุ (รอบแรก)
เวลา 20.00 น. การแสดงนาฏศิลป์ 4 ภาค ณ โรงละครกลางแจ้ง
เวลา 20.30 น. การแสดงประกอบ แสง เสียง ณ บริเวณวัดมหาธาตุ (รอบที่ 2)
-การเล่นสักวา ณ บริเวณสระน้ำวัดสระศรี (ตระพังตระกวน)
เวลา 21.30 น. พิธีเผาเทียนเล่นไฟ ณ บริเวณลานพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช โดยฌชิญประธานจุดตะคันใหญ่
เวลา 22.00 น. กิจกรรมตำนานเรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์
เวลา 23.00 น. พิธีอัญเชิญพระประทีป และกระทงพระราชทาน ลงลอยเป็นปฐมฤกษ์ ณ บริเวณสระน้ำวัดสระศรี (ตระพังตระกวน)
-การแสดงพลุ ตะไล ไฟพะเนียง ณ บริเวณสระน้ำวัดสระศรี (ตระพังตระกวน)

ที่มา http://thaismarttour.igetweb.com/index.php?mo=3&art=328038

วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2552

งานประเพณีลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ จังหวัดสุโขทัย วันที่ 31 ตุลาคม - 2 พฤศจิกายน 2552 ณ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย จังหวัดสุโขทัย








มรดกล้ำเลิศ กำเนิดลายสือไทย เล่นไฟลอยกระทง มั่นคงพระพุทธศาสนางามตาผ้าตีนจก สังคโลกทองโบราณ สักการแม่ย่าพ่อขุน รุ่งอรุณแห่งความสุข

สุโขทัย ในอดีตเคยเป็นราชธานีแห่งแรกของชาติไทย เมื่อ 700 ปีมาแล้ว ปัจจุบันเป็นจังหวัดหนึ่งในเขตภาคเหนือตอนล่าง คำว่า สุโขทัย มาจากคำสองคำคือ สุข+อุทัย หมายความว่า รุ่งอรุณแห่งความสุข สุโขทัยได้เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อประมาณปี พ. ศ. 1780-1800 มีการสถาปนาราชวงศ์พระร่วงขึ้นปกครองสุโขทัย โดยมีพ่อขุนศรีอินทราทิตย์เป็นปฐมกษัตริย์ ตลอดระยะเวลา 120 ปี ราชวงศ์สุโขทัย มีกษัตริย์ปกครองหลายพระองค์ ที่สำคัญคือ "พ่อขุนรามคำแหงมหาราช" ผู้ทรงประดิษฐ์อักษรไทย และวางรากฐานการเมือง การปกครอง ศาสนา ตลอดจนขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง และด้วยความสำคัญในฐานะที่เป็นเอกลักษณ์ทางศิลปะของไทยในสมัยเริ่มสร้างอาณาจักรที่ยังหลงเหลืออยู่ในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ได้รับการยกย่องให้เป็น มรดกโลก โดยองค์การ UNESCO เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2534

งานประเพณีลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ จังหวัดสุโขทัย วันที่ 31 ตุลาคม - 2 พฤศจิกายน 2552 ณ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย จังหวัดสุโขทัย

กิจกรรมกิจกรรมรับรุ่งอรุณแห่งความสุข การแสดงแสง เสียง ขบวนแห่กระทง การประกวดกระทง พนมหมาก พนมดอกไม้ ประกวดนางนพมาศ ขบวนแห่โคมชักโคมแขวน การแสดงศิลปวัฒนธรรม ประเพณีของสุโขทัย การเล่นพลุตะไล ไฟพะเนียง

สอบถามรายละเอียดอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย โทร. 0 5569 7527 ประชาสัมพันธ์จังหวัดสุโขทัย โทร. 0 5561 2286อาณาเขต

ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดแพร่ ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดกำแพงเพชร

ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดพิษณุโลก และจังหวัดอุตรดิตถ์

ทิศตะวันตก ติดต่อจังหวัดตาก และจังหวัดลำปาง


หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานสุโขทัย โทรศัพท์ 0 5561 6228, 0 5561 6366
โทรสาร 0 5561 6230ประชาสัมพันธ์จังหวัด โทร. 0 5561 1619
ที่ว่าการอำเภอศรีสัชนาลัย โทร. 0 5567 1466
สถานีตำรวจภูธร โทร. 191, 0 5561 1199, 0 5561 3112
โรงพยาบาลสุโขทัย โทร. 0 5561 1702, 0 5561 1782
สถานีเดินรถโดยสารประจำทาง โทร. 0 5561 3296
Link ที่น่าสนใจ
สำนักงานจังหวัดสุโขทัย โทร. 0 5561 2286

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานสุโขทัย






สุโขทัย ในอดีตเคยเป็นราชธานีแห่งแรกของชาติไทย เมื่อ 700 ปีมาแล้ว ปัจจุบันเป็นจังหวัดหนึ่งในเขตภาคเหนือตอนล่าง คำว่า สุโขทัย มาจากคำสองคำคือ สุข+อุทัย หมายความว่า รุ่งอรุณแห่งความสุข สุโขทัยได้เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อประมาณ ปี พ. ศ. 1800 มีการสถาปนาราชวงศ์พระร่วงขึ้นปกครองสุโขทัย โดยมีพ่อขุนศรีอินทราทิตย์เป็นปฐมกษัตริย์ ตลอดระยะเวลา 120 ปี ราชวงศ์สุโขทัย มีกษัตริย์ปกครองหลายพระองค์ ที่สำคัญคือ "พ่อขุนรามคำแหงมหาราช" ผู้ทรงประดิษฐ์อักษรไทย และวางรากฐานการเมือง การปกครอง ศาสนา ตลอดจนขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง และด้วยความสำคัญในฐานะที่เป็นเอกลักษณ์ทางศิลปะของไทย ในสมัยเริ่มสร้างอาณาจักรที่ยังหลงเหลืออยู่ในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ได้รับการยกย่องให้เป็น มรดกโลก โดยองค์การ UNESCO เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2534อาณาเขต
จังหวัดสุโขทัยอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 427 กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 6,596 ตารางกิโลเมตร
หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
ประชาสัมพันธ์จังหวัด โทร. 0 5561 1619
ที่ว่าการอำเภอศรีสัชนาลัย โทร. 0 5567 1466
สถานีตำรวจภูธร โทร. 191, 0 5561 1199, 0 5561 3112
โรงพยาบาลสุโขทัย โทร. 0 5561 1702, 0 5561 1782
สถานีเดินรถโดยสารประจำทาง โทร. 0 5561 3296
บัญชีรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา/รองผู้อำนวยการสถานศึกษา






ประกาศ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต 2เรื่อง ผลการคัดเลือกข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษา

...........................................
ตามที่ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต 2 ได้ประกาศรับสมัครคัดเลือกข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษา
ลงวันที่ 10 กันยายน 2552 นั้น
บัดนี้ การดำเนินการคัดเลือกได้เสร็จสิ้นแล้ว โดยอนุมัติ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต 2 ในคราวประชุมครั้งที่ 8 / 2552 เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2552 จึงได้ประกาศผล
ผู้ได้รับการคัดเลือกเรียงตามลำดับจากผู้ได้คะแนนรวมสูงสุดจากมากไปหาน้อย มีกำหนด 2 ปี
นับแต่วันประกาศขึ้นบัญชี รายละเอียดตามบัญชีรายชื่อแนบท้ายประกาศนี้ทั้งนี้ ให้ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเข้ารับการพัฒนาก่อนการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยสถานศึกษา ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กำหนด ในวัน เวลา และสถานที่ ที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต 2 กำหนด ซึ่งจะแจ้งให้ทราบภายหลังประกาศ ณ วันที่ 12 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2552

( นายประยุทธ นาวายนต์ )อนุกรรมการและเลขานุการใน อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาประจำเขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต 2


บัญชีรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต 2 แนบท้ายประกาศการคัดเลือกผู้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษา ลงวันที่ 12 ตุลาคม 2552 อันดับที่ เลขที่สอบ ชื่อ -สกุล หมายเหตุ


1 033 นายไพรัตน์ กลิ่นทับ
2 016 นายสารัตน์ พวงเงิน
3 009 นายวิโรจน์ บัวคง
4 010 นางหทัยรัตน์ เกษรจันทร์
5 022 นายสมบัติ ป้องฉิม
6 039 นายรัฐพล โพธิ์แก้ว
7 004 นางสาวศิริวรรณ ขวัญมุข
8 011 นางนภาศรี ทิมภูธรา
9 032 นายสาโรช เกตุสาคร
10 037 นางสาวชรินยา สุขย้อย
11 003 นายสุภัค พวงขจร
12 036 นางวาสนา ตาคม
13 015 นายชัชวาลย์ อ่ำเทศ
14 017 นายชาญวิทย์ วงศ์จักร
15 025 นางรัชนี เมืองชื่น
16 001 นายธรรมศาสตร์ ธรรมไชย
17 005 นายประทีป สันธิ
18 021 นายเยี่ยม ต้นกลั่น
19 034 นายประยุทธ ครุธแก้ว
20 030 ว่าที่ พ.ต.ทับทิม พาโคกทม
21 027 นายปิยะวุฒิ ล่องชูผล
22 038 นางสาวสุภาณี หัฐพฤติ
23 026 นายพนม สุขหา
24 013 นางราตรี สุวรรณประสิทธิ์
25 024 นางสาวนรินทร์ อินทะนัก
26 002 นายธีรพงษ์ เข็มคง
27 006 นายคมกริช จบศรี
28 028 นางสาวรัตนาวดี ทับเงิน
29 020 นางรุจิรัตน์ รัตนเพชร

ประกาศ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต 2เรื่อง ผลการคัดเลือกข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา …………………………

ตามที่ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต 2 ได้ประกาศรับสมัครคัดเลือกข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา
ลงวันที่ 10 กันยายน 2552
นั้นบัดนี้ การดำเนินการคัดเลือกได้เสร็จสิ้นแล้ว โดยอนุมัติ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต 2 ในคราวประชุมครั้งที่ 8 / 2552 เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2552 จึงได้ประกาศผล
ผู้ได้รับการคัดเลือกเรียงตามลำดับจากผู้ได้คะแนนรวมสูงสุดจากมากไปหาน้อย มีกำหนด 2 ปี
นับแต่วันประกาศขึ้นบัญชี รายละเอียดตามบัญชีรายชื่อแนบท้ายประกาศนี้ทั้งนี้ ให้ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเข้ารับการพัฒนาก่อนการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยสถานศึกษา ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กำหนด ในวัน เวลา และสถานที่ ที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย
เขต 2 กำหนด ซึ่งจะแจ้งให้ทราบภายหลังประกาศ ณ วันที่ 12 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2552

( นายประยุทธ นาวายนต์ )อนุกรรมการและเลขานุการใน อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาประจำเขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต 2

บัญชีรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต 2 แนบท้ายประกาศการคัดเลือกผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา
ลงวันที่ 12 ตุลาคม 2552 อันดับที่ เลขที่สอบ ชื่อ -สกุล หมายเหตุ

1 022 นางวาสนา สำเนียง
2 071 นายอำนวย บูรณะไทย
3 078 นายวีระศักด์ ย้อยสร้อยสุด
4 072 นายประวิท วิริยะพงษ์
5 053 นายสุวิทย์ อภิโล
6 064 นายชวลิต ทะยะ
7 067 นายอลงกรณ์ หงษ์ผ้วย
8 001 นางสาวยุพิน จงแจ่มฟ้า
9 028 นายดำรง คุ้มพาล
10 081 นายประสาน โชติมน
11 005 นายสมพร สุขอร่าม
12 025 นางกมลวรรณ ตั้งสุขสันต์
13 063 นางศิริรัตน์ แก้วทอง
14 082 นายไพบูลย์ พวงเงิน
15 026 นางชลิศา ป้องฉิม
16 014 นายพิเชฐ ขำพงศ์
17 036 นายสุรสิทธิ์ เกษประสิทธิ์
18 011 นายอนุชิต กมล
19 008 นายณฐวรรษ ยอดแก้ว
20 031 นายไพรัช เดชะศิริ
21 060 นายไพรัช อินต๊ะสงค์
22 054 นางกาบแก้ว สวยสม
23 015 นายจำเริญ สุวรรณประสิทธิ์
24 062 นายเกียรติชัย สังข์จันทร์
25 046 นายธัชพล โพธิทา
26 007 นางสายสุณีย์ ไพบูลย์กสิกรรม
27 043 นางกุณฑี วงค์จันทรมณี
28 074 นางสาวทองปลาย กมล
29 077 นายศราวุธ คำแก้ว
30 068 นายสมศักดิ์ วรรณโชค
31 034 นายอานนท์ ชาญกูล
32 042 นายธวัชชัย อินต๊ะเสาร์
33 070 นายนิคม จันทร์อิ่ม
34 069 นายมนัส เจื้อยแจ้ว
35 029 นายสมยศ ทองรัตน์
36 075 นายประธาน หาญณรงค์
37 018 นายสุชาติ หลำพรม
38 006 นางอิสรีย์ ชัยวัฒน์ดำรงสุข
39 017 นายวินัย จันทร์หอม
40 021 นายบุญชู คำรักษ์
41 050 นายสุทัศน์ หลินจริญ
42 052 นางธนวรรณ มะโนรา
43 080 นายสังวาลย์ พลอยคำ
44 002 นายมานพ หลงแย้ม
45 079 นายวัลลภ เอี่ยมมะ
47 073 นายวิลาศ ส่งให้
48 041 นายนคเรศ นิลวงศ์
49 012 นางสาวปรีเปรม เค้าอ้น
50 023 นายอานนท์ อุ่นนังกาศ
51 009 นางจิตติมนต์ อัครจรัญรัตน์
52 055 นายวสันต์ บัวหลวง
53 039 นายสมโภชน์ วรรณโชค
54 066 นางสาวจินตนา ทองแจ่ม
55 065 นางปราณี จันทราราชัย
56 010 นายสำราญ จงอยู่เย็น
57 032 นายภูษิต ภูสีโสม
58 048 นายจำเนียร ตูมหอม
59 057 นายพิรุณ กาสาย
60 019 นายประเสริฐ รุ่งเรือง
61 038 นายวัฒนา แสนคำ
62 004 นายวัชรินทร์ ฤทธิ์รักษา
63 035 นายวีระ อินทรสุวรรณ
64 016 นายสมศักดิ์ แก้วนุช
65 040 นายเทียม จรวุฒิพันธ์
66 037 นายสุพจน์ กล้าวาจา
67 020 นายอุทิศ มีเต็ม
68 045 นางสาวรวิสรา แก้วเกต
69 003 นางอารยา ปานคง
70 013 นางสาววิไลลักษณ์ ปักษี
71 049 นายโกวิทย์ บริสุทธิ์
72 024 ว่าที่ร้อยตรีสมเกียรติ ขอนทอง
ที่มา http://www.sukhothai2.go.th/main/

แข่งเรือเฮือซ่วง..แห่กฐินทางน้ำ...สืบสานสู่รุ่นลูก-หลาน

ปีนี้จังหวัดสุโขทัย เน้นการสืบทอดวัฒนธรรมท้องถิ่นเพื่อคนรุ่นหลัง เสริมงานประเพณีลอยกระทง และเทศกาลอาหาร โดยเทศบาลตำบลหาดเสี้ยว อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโข ทัย ได้กำหนดจัดแห่กฐินทางน้ำขึ้น ระหว่างวันที่ 29 ตุลาคม -2 พฤศจิกายน 2552 ณ บริเวณเขื่อนเรียงหิน หมู่ 2 ต.หาดเสี้ยว อ.ศรีสัชนาลัย

ว่าที่ ร.ต.ธีระยุทธ สุดเสมอใจ นายกเทศมนตรีตำบลหาดเสี้ยว กล่าวถึงความเป็นมาของประเพณีแห่องค์กฐินทางน้ำ และแข่งเรือ หรือชาวบ้านเรียกว่า (เฮือซ่วง) เป็นการทำบุญในเทศกาลทอดกฐินของชาวไทยพวน ที่นิยมทอดกันตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 11 เป็นต้นไป จนถึงกลางเดือน 12 และถือกันว่า การทอดกฐินได้บุญมาก ผู้มีฐานะดีพอที่จะทอดได้ ต้องทอดด้วยกันทุกคน ผู้มีจิตศรัทธาปรารถนาจะทอดกฐิน ต้องเขียนหนังสือแสดงความจำนงจะทอดกฐินในวัน เดือน ปี นั้น ๆ ไปติดประกาศไว้ที่วัด เรียกว่า จองกฐิน

นายกเทศมนตรีตำบลหาดเสี้ยว กล่าวอีกว่า ในอดีตการทอดกฐินถ้าไปทอดที่วัดห่างไกลจากหมู่บ้าน ชาวบ้านจะช่วยกันแห่ไปแล้วทอดเสร็จในวันเดียว หากทอดที่วัดประจำในหมู่บ้าน หรือวัดใดวัดหนึ่งใกล้ ๆ กัน จะต้องมีการแห่วันหนึ่ง ทอดวันหนึ่ง การแห่ คือ การจัดเครื่องกฐิน เรียกว่า กองกฐิน ลงเรือยาวขนาดใหญ่ซึ่งจัดสร้างขึ้นไว้ในการนี้โดยเฉพาะ แล้วประดับตกแต่งอย่างสวยงาม ตามความนิยมของชาวบ้านหาดเสี้ยว ก่อนจะแห่ขึ้นไปตามลำน้ำ ซึ่งบรรดาชาวบ้านที่ตั้งบ้านเรือนอยู่สองฝั่งแม่น้ำ เมื่อได้ยินพิณพาทย์แห่กฐินมา จะพากันอุ้มลูกจูงหลานมาดูมาชมอย่างคับคั่ง ส่วนผู้เฒ่าผู้แก่ จะถือเครื่องไทยธรรมตามมีตามเกิด มารอคอยอยู่ที่ท่าน้ำเพื่อร่วมอนุโมทนาด้วย

ว่าที่ ร.ต.ธีระยุทธ กล่าวเพิ่มเติมว่า เมื่อเรือกฐินผ่านมา จะแวะเข้าไปรับทุก ๆ แห่ง จนสุดหมู่บ้านแล้ววนกลับ ในการแห่กฐินนี้พวกเด็กเล็กในหมู่บ้านที่ทอดกฐิน ต่างพากันร้องไห้กระจองอแง ขอให้พ่อแก่นำไปแห่กฐินด้วย พ่อแม่จำเป็นจะต้องพาลงเรือพายเรือแจวไปร่วมกับเรือกฐิน แต่ประเพณี ดังกล่าวเริ่มจะจางหายไปตามกาลเวลา คนรุ่นหลังก็ยังให้ ความสนใจประเพณี นี้ไม่มากนัก

“ดังนั้นทางผู้บริหาร และคณะเทศบาลตำบลหาดเสี้ยว จึงได้ฟื้นฟูและสนับสนุนประเพณีแห่กฐินทางน้ำ และแข่งเรือ (เฮือซ่วง) ขึ้น ซึ่งคาดหมายว่า จะได้รับความพึงพอใจจากชาวตำบลบ้านหาดเสี้ยว และคนสุโขทัย พร้อมทั้งนักท่องเที่ยวที่ได้เดินทางมาท่องเที่ยวศึกษาขนบธรรมเนียมประเพณี ที่สำคัญอีกอย่างของคนสุโขทัย ซึ่งถือว่าเป็นเมืองวัฒนธรรมและเมืองมรดกโลก ซึ่งพร้อมจะสืบสานประเพณีนี้ให้คงอยู่คู่กับชุมชนเทศบาลตำบลหาดเสี้ยวและคน หาดเสี้ยวต่อไป”

ว่าที่ ร.ต.ธีระยุทธ กล่าวว่า สุโขทัย เป็นเมืองเก่าแก่ เป็นต้นกำเนิดของวัฒนธรรมประ เพณีที่หลากหลาย และน่าค้นคว้า ซึ่งหากใครได้มาชมงานกฐินทางน้ำ และแข่งเรือของชาวหาดเสี้ยวแล้ว เชื่อว่านอกจากจะได้สนุกสนานเพลิดเพลินแล้ว ยังได้รับรู้ถึงวัฒนธรรมประเพณีของที่นี่อีกด้วย.

ที่มา http://www.airphy.blogspot.com/

วันอังคารที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2552

น้ำท่วมหนัก ตายจำนวนมาก

รัฐบาลฟิลิปปินส์ออกแถลงในวันนี้ (28 ก.ย.) ว่า ไม่สามารถรับมือกับอุทกภัยครั้งใหญ่ในรอบ 42 ปี จากฤทธิ์ของพายุกิสนา ที่ทำให้เกิดน้ำท่วมหนักในเขตกรุงมะนิลา และ 5 จังหวัดใกล้เคียง ประชาชนได้รับความเดือดร้อนเกือบ 500,000 คน และคาดว่า ตัวเลขจำนวนผู้เสียชีวิต และสูญหายน่าจะไม่ต่ำกว่า 100 คน โดยตัวเลขผู้เสียชีวิตอย่างเป็นทางการ ล่าสุดอยู่ที่ 86 คน

ด้าน นายกิลเบิร์ต ทีโอโดโร รัฐมนตรีกลาโหม เผยว่า กำลังเจ้าหน้าที่ทั้งทหาร ตำรวจ และอาสาสมัคร สามารถช่วยเหลือประชาชนได้แค่เพียง 5,000 กว่าคน ส่วนใหญ่ติดค้างอยู่บนหลังคาบ้าน หรือหลังคารถตามท้องถนน หลายพื้นที่ในเมืองหลวงมะนิลา น้ำท่วมขังสูงถึง 6 เมตร

ด้านรัฐบาลสหรัฐเตรียมให้ความช่วยเหลือฉุกเฉิน โดยจะส่งเฮลิคอปเตอร์ 1 ลำ และเรือ 6 ลำไปช่วยกู้ภัย รวมทั้งจัดสรรเงินช่วยเหลือ 50,000 ดอลลาร์ ขณะที่จีนบริจาคเงินช่วยเหลือ 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=5&contentID=22888

พายุโซนร้อน “กิสนา” ส่งผลกระทบไทยวันนี้ น้ำท่วมซ้ำหนักกว่าเดิม

พายุโซนร้อน “กิสนา” พัดถล่มแดนตากาล็อกอย่างหนักเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ทำเอากรุงมะนิลาและอีกหกจังหวัดใกล้เคียงกลายเป็นเมืองบาดาลไปแล้วเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา บางพื้นที่เจอน้ำท่วมสูงถึง 6 ม. เผยสร้างความเสียหายที่สุดในรอบกว่า 40 ปีที่ผ่านมา ตายไปเกินร้อยแล้ว แถมไร้ที่อยู่อาศัยอีก 280,000 คน รัฐบาลฟิลิปปินส์สั่งช่วยเหลือเร่งด่วนแล้ว ด้านอธิบดีกรมอุตุฯเผยสาเหตุเพราะภาวะโลกร้อน ด้านเมืองไทยฝนกระหนํ่าหลายจังหวัดอ่วม


สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานจากกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์เมื่อวันที่ 27 ก.ย. ว่า นายกิลแบร์โต ติโอโดโร รมว.กลาโหมฟิลิปปินส์ แถลงว่า จากภัยธรรมชาติพายุโซนร้อน “กิสนา” พัดถล่มกรุงมะนิลาจน ได้รับความเสียหายอย่างหนักในรอบกว่า 40 ปีที่ผ่านมา บางพื้นที่ของเมืองหลวงของฟิลิปปินส์นั้นจมอยู่ใต้น้ำสูงถึง 6 ม. สร้างความตกตะลึงไปทั่วประเทศซึ่งคุ้นเคยอยู่แล้วกับการเผชิญหน้าพายุไต้ฝุ่น มีรายงานผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 106 ศพ และสูญหาย อีก 23 คน ประชาชนเกือบ 280,000 คนในกรุงมะนิลาและ 5 จังหวัดใกล้เคียงไร้ที่อยู่อาศัย แต่ก็มีอีก 41,000 คน ซึ่งได้รับการช่วยเหลือย้ายเข้าไปอยู่ในศูนย์พักพิงชั่วคราวแล้ว “เป็นน้ำท่วมที่รุนแรงที่สุดเท่าที่ตนเคยประสบมา” รมว.กลาโหมฟิลิปปินส์กล่าว

รายงานข่าวระบุว่า น้ำท่วมหนักนาน 9 ชั่วโมงในกรุงมะนิลาเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ทำให้กลายเป็นเมืองบาดาล โดยเฉพาะในย่านชุมชนแออัด ถนนกลายเป็นคลอง ชาวบ้านต้องหนีน้ำขึ้นไปอยู่บนหลังคา และรอคอยความช่วยเหลือนานกว่า 24 ชั่วโมง ประธานาธิบดีกลอเรีย อาร์โรโย กล่าวเรียกร้องให้ประชาชนไม่ต้องตื่นตระหนก รัฐบาล ได้กำหนดเส้นตายคืนวันอาทิตย์ที่ผ่านมาให้หน่วยกู้ภัยและกองทัพออกปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ที่ยังติดค้างอยู่บนที่สูง โดยใช้เฮลิคอปเตอร์ และเรือยาง ออกปฏิบัติการช่วยเหลือประชาชน 12 ล้านคนที่อาศัยอยู่ในกรุงมะนิลา ขณะที่กองทัพสหรัฐก็สนับสนุนเฮลิคอปเตอร์ 1 ลำ กับเรืออีก 6 ลำในปฏิบัติการช่วยเหลือ

แม้ฝนได้หยุดตกไปแล้วเมื่อวัน อาทิตย์ที่ผ่านมา แต่เจ้าหน้าที่กู้ภัยก็ยังวิตกว่า ตัวเลขผู้เสียชีวิตอาจสูงกว่านี้ เพราะเมื่อน้ำลดลงแล้ว อาจพบศพโผล่ขึ้นมาเพิ่มเติม แล้วเมื่อช่วงบ่ายวันเดียวกันนี้ เฮลิคอปเตอร์และเรือกู้ภัยสามารถช่วยเหลือชาวบ้านที่ติดค้างอยู่บนหลังคาได้แล้วกว่า 5,000 คน ซึ่งพวกเขาเหล่านี้ต่างรอคอยความช่วยเหลือด้วยความหิวโหยและกระหายน้ำ แต่บางคนก็ไม่อาจทนรอได้ เช่น ที่เมืองปาซิก ทางฝั่งตะวันออกของกรุงมะนิลา ซึ่งเป็นหนึ่งในหกพื้นที่ประสบภัย ชาวบ้านยอมฝ่าน้ำลึกระดับคอพากันเดินหอบลูกจูงหลานหนีน้ำท่วมมาจนได้ แม้กระแสน้ำจะเชี่ยวกรากก็ตาม

ด้านนางเกวนโดลิน ปัง ประธานสภากาชาดฟิลิปปินส์ กล่าวว่า ทีมช่วยเหลือและกู้ภัยพยายามที่จะเข้าไปให้ถึงพื้นที่ประสบภัย แม้เส้นทางหลวงจะถูกตัดขาดเข้าไปไม่ถึงก็ตาม “เรื่องเช่นนี้ไม่เคยเกิดขึ้น มาก่อน กล่าวได้ว่า ร้อยละ 80 ของเขตเมืองหลวงกรุงมะนิลาจมอยู่ใต้น้ำ” นอกเหนือจากความวุ่นวายที่เกิดขึ้นแล้ว การสื่อสารทางโทรศัพท์และกระแสไฟฟ้ายังถูกตัดขาดในพื้นที่ประสบภัย แล้วยังกระท่อนกระแท่น ติด ๆ ขาด ๆ ในพื้นที่ส่วนอื่น ๆ ของกรุงมะนิลา บางโรงพยาบาลใน ฝั่งตะวันออกของกรุงมะนิลา ได้รับคำสั่งให้อพยพคนไข้หนีน้ำ เช่นเดียวกับท่าอากาศ ยานนานาชาติกรุงมะนิลาได้รับคำสั่งให้ปิดบริการเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาเพราะพายุถล่ม

นายปริสโก นิโล อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยาของฟิลิปปินส์ กล่าวว่า สาเหตุที่เกิดภัยธรรมชาติรุนแรงพายุถล่มฟิลิปปินส์จนได้รับความเสียหายอย่างหนักนี้ ต้องโทษผลกระทบจากภาวะโลกร้อน ซึ่งปริมาณน้ำฝนที่วัดได้จากระยะเวลา 9 ชั่วโมงที่ฝนตกลงมาอย่างหนักในวันเดียวนั้น สูงถึง 41.6 ซม. (16 นิ้ว) ทำลายสถิติเดิมที่เคย บันทึกปริมาณน้ำฝนที่วัดได้ในวันเดียว 33.4 ซม. เมื่อเดือน ก.ค. 2510

ขณะที่ จ.แม่ฮ่องสอน เกิดน้ำป่าไหลหลากออกจากลำห้วยแม่สามแลบ พัดพานายณรงค์ สิริวรากร อายุ 22 ปี อยู่บ้านเลขที่ 280 หมู่ 1 ต.แม่สามแลบ อ.สบเมย ขณะกำลังเดินข้ามลำห้วย จนทำให้จมน้ำเสียชีวิต และมีดินถล่มทับ และพัดพาบ้านเรือนได้รับความเสียหาย 3 หลัง รวมทั้งมีดินสไลด์ปิดทับเส้นทางถนนสายบ้านแม่สามแลบ-แม่สะเรียง จนถนนถูกตัดหลายจุด รถยนต์ไม่สามารถสัญจรไปมาได้

ที่ จ.เพชรบูรณ์ มีฝนตกอย่างหนักพื้นที่ อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์ โดยเฉพาะพื้นที่บนภูเขาสูง ใน ต.วังท่าดี และ ต.ท่าด้วง จนเกิดน้ำไหลบ่าเข้าท่วมหมู่บ้านบริเวณตีนเขา เสียหายกว่า 1,400 ครัวเรือน นอกจากนี้กระแสน้ำยังไหลท่วมพื้นที่ ต.ท่าแดง หมู่ 5 และ หมู่ 12 เสียหายอีกกว่า 300 ครัวเรือน ขณะที่มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก และมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ติดต่อประสานผ่านมาทางจังหวัด เพื่อให้ความช่วยเหลือแล้ว

ส่วนที่ จ.จันทบุรี จากปริมาณฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ปริมาณน้ำในแม่น้ำจันทบุรีเพิ่มสูงขึ้น และอาจส่งผลกระทบทำให้น้ำล้นตลิ่งไหลเข้าท่วมบ้านเรือนนั้น นายพูลศักดิ์ ประณุทนรพาล ผวจ.จันทบุรี ได้ประกาศแจ้งเตือนให้เฝ้าระวังน้ำไหลเข้าท่วม เก็บสิ่งของไว้ในที่สูง และติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด แต่ไม่ต้องตื่นตระหนก เพราะทางจังหวัดเตรียมแผนรองรับไว้หมดแล้ว และหากได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมสามารถร้องขอความช่วยเหลือได้ที่ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.จันทบุรี โทรศัพท์ 0-3931-2100 ตลอด 24 ชั่วโมง

ด้าน นายวันชัย อินทนา อายุ 55 ปี อาชีพทำบ่อเลี้ยงปลา เลขที่ 34/1 หมู่ 13 ต.บางพลีใหญ่ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ แจ้งว่าพบจระเข้กำลังไล่กินปลาอยู่ในบ่อ จึงใช้ปืนฉมวกยิงเข้าที่ขาหน้าซ้าย และจับ ตัวไว้ได้มีความยาว 1.5 เมตร น้ำหนัก 10 กิโลกรัม จึงฝากเตือนระวังอันตรายจาก จระเข้ เพราะเกรงว่าอาจจะมีจระเข้อีกหลายตัวหลุดออกจากแหล่งเลี้ยงจระเข้ในช่วง หน้าฝน หรืออาจมีจระเข้อาศัยอยู่ใกล้ ๆ จะทำร้ายได้

ที่ จ.เลย เกิดฝนตกหนักต่อเนื่องหลายวัน ทำให้น้ำป่าไหลเข้าท่วมไร่ นา และบ้านเรือน ได้รับความเสียหายรวม 4 อำเภอ ประกอบด้วย อ.เมือง นาด้วง ปากชม และภูหลวง ระดับสูง 50 เซนติเมตร และไหลเอ่อล้นเข้าท่วมบ้านหนองบัว และหนองบัวน้อย เสียหายประมาณ 100 หลังคาเรือน ถนนสายภูหลวง-หล่มสัก รถเล็กไม่สามารถผ่านไปมาได้

วันเดียวกัน กรมอุตุนิยมวิทยาราย งานสภาพอากาศมาว่า ร่องความกดอากาศต่ำพาดผ่านบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและอ่าวไทย มีกำลังค่อนข้างแรง ทำให้ทั่วทุกภาคมีฝนตกชุกหนาแน่นกับมีฝนตกหนักบางแห่ง จึงขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัย บริเวณที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่าน และพื้นที่ลุ่มของ จ.แม่ฮ่องสอน แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ เลย นคร ราชสีมา นครสวรรค์ จันทบุรี ตราด ระนอง และพังงา ระมัดระวังอันตรายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากที่จะเกิดขึ้นได้ในระยะนี้ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามัน และอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง ขอให้ชาวเรือเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือไว้ด้วย

อนึ่ง พายุโซนร้อน “กิสนา” บริเวณทะเลจีนใต้ทางด้านตะวันตกของประเทศฟิลิปปินส์ กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตก คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อสภาวะลมฟ้าอากาศของประเทศไทย ในช่วงวันที่ 30 ก.ย.-3 ต.ค. ที่จะถึงนี้
ที่มา http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=420&contentID=22848

วันศุกร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2552

รูปแสดงผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นลำดับส่วนของน้ำมันดิบ
2. การกลั่นลำดับส่วน ใช้แยกสารละลายที่มีสถานะเป็นของเหลว เนื่องจากองค์ประกอบมีสถานะเหมือนกัน ทำให้จุดเดือดต่างกันไม่มาก ดังนั้นจึงไม่สามารถทำสารให้บริสุทธิ์ด้วยกระบวนการกลั่นธรรมดาได้ เพราะจะได้สารที่กลั่นออกมาไม่บริสุทธิ์อธิบายได้ดังนี้ สารที่ระเหยก่อนยังเป็นไอไม่สมบรูณ์ สารอีกชนิด ก็ระเหยกลายเป็นไอตามมา เมื่อผ่านไปยังเครื่องควบแน่น จะกลั่นตัวได้สารทั้งสองชนิดออกมาจึงเป็นการแยกสารที่ไม่สมบรูณ์ โดยมีหลักการ คือ สามารถแยกสารละลายที่จุดเดือดต่างกันเล็กน้อย และสารที่มีจุดเดือดต่ำจะกลั่นตัวออกมาก่อน เช่น การแยกน้ำออกจากแอลกอฮอล์ (น้ำมีจุดเดือด 100 องศาเซลเซียส แอลกอฮอล์มีจุดเดือด 78.5 องศาเซลเซียส) เมื่อนำสารละลายมากลั่น แอลกอฮอล์จะระเหยกลายเป็นไอก่อน ขณะเดือดนอกจากเกิดไอของแอลกอฮอล์แล้วยังมีไอน้ำระเหยตามมาด้วย เมื่อไอลอยขึ้นสู่คอลัมน์แก้วที่อุณหภูมิต่ำลงเรื่อยๆ ทำให้ไอน้ำควบแน่นกลับสู่ขวดกลั่น ส่วนไอของแอลกอฮอล์จะผ่านไปได้และไปกลั่นตัวที่เครื่องควบแน่น ซึ่งมีความบริสุทธิ์ของแอลกอฮอล์เกือบสมบูรณ์

รูปแสดงการกลั่นลำดับส่วนนอกจากนี้ การกลั่นลำดับส่วนยังเป็นการนำสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มีคุณค่าในน้ำมันดิบออกมาใช้ประโยชน์ได้ด้วยกระบวนการนี้

ที่มา

การตกผลึก

การตกผลึก
การตกผลึก คือ การแยกของผสมที่เป็นของแข็งที่มีสมบัติการละลายในตัวทำละลายต่างกันและได้ไม่เท่ากันทุกอุณหภูมิ มีหลักการ คือ เมื่อนำของผสมละลายในตัวทำละลายต้มสารละลายนั้นจนละลายหมด แล้วทิ้งให้อุณหภูมิลดลง สารที่ละลายน้อยกว่าจะอิ่มตัวแล้วตกผลึกแยกออกมาก่อน เช่น น้ำตาลกับเกลือซิลเวอร์ไนเตรตกับโพแทสเซียมไนเตรต การแยกเกลือโซเดียมคลอไรด์ออกจากน้ำทะเล

รูปแสดงตัวอย่างผลึกบางชนิด
การสกัดด้วยตัวทำละลาย
การสกัดด้วยตัวทำละลาย คือ การแยกสารโดยอาศัยสมบัติการละลายของสารในตัวทำละลาย ต้องคำนึงถึงตัวทำละลายที่เหมาะสมเพื่อให้ได้สารที่ต้องการ
ในปริมาณมาก มีหลักการดังนี้
- เลือกตัวทำละลายที่เหมาะสมเพื่อสกัดให้ได้สารที่ต้องการออกมามากและต้องมีสิ่งเจือปนติดน้อยที่สุด และไม่ทำปฏิกิริยากับสารที่ต้องการสกัด
- กรณีที่ต้องแยกสารผสมที่มีองค์ประกอบปนกันหลายชนิด ต้องเลือกตัวทำละลายที่ละลายสารใดสารหนึ่งได้มากและอีกสารได้น้อยมาก เพื่อให้เจือปนกันน้อยที่สุด- แยกสารที่ไม่ต้องการออกไป โดยกระบวนการแยกสารต่างๆ เช่น การกรอง เป็นต้น
- แยกสารที่ต้องการออกจากตัวทำละลายซึ่งวิธีการนี้จะนิยมใช้สกัดสีจากธรรมชาติ สมุนไพร สกัดน้ำมันหอมระเหย เป็นวิธีการที่ประหยัดและปลอดภัย
ที่มา
การกรอง
การกรอง คือ การแยกสารผสมที่มีสถานะเป็นของแข็งออกจากของเหลว โดยใช้กระดาษกรองซึ่งมีรูพรุนขนาดเล็ก ทำให้อนุภาคของของแข็งนั้นไม่สามารถผ่านกระดาษกรองได้ ส่วนอนุภาคของของเหลวจะผ่านกระดาษกรองได้ ซึ่งในชีวิตประจำวันเราจะคุ้นเคยกับการกรองในรูปของการใช้ผ้าขาวบางในการคั้นน้ำกะทิจากมะพร้าว แผ่นกรองอากาศในเครื่องปรับอากาศ อุปกรณ์กรองน้ำสะอาดในเครื่องกรองน้ำ เป็นต้น



การตกตะกอน
การตกตะกอน คือ การแยกสารผสมที่เป็นของแข็งที่แขวนลอยอยู่ในของเหลว โดยมีหลักการที่สำคัญ คือ การนำสารผสมตั้งทิ้งไว้ เนื่องจากอนุภาคของแข็งที่แฝงอยู่นั้นมีน้ำหนัก ดังนั้นจึงตกตะกอนอยู่ที่ก้นภาชนะ จากนั้นรินอนุภาคของเหลวด้านบนออกจากอนุภาคของของแข็งจะทำให้ได้สารบริสุทธิ์ทั้งสองส่วน ตัวอย่างของผสมที่ใช้วิธีการแยกสารโดยการตกตะกอน คือ น้ำโคลน ประกอบด้วยส่วนของดินที่แขวนลอยในน้ำ เมื่อตั้งทิ้งไว้นานๆ อนุภาคของดินจะตกตะกอนอยู่ที่ก้นภาชนะ ส่วนน้ำจะใสขึ้นสามารถรินแยกออกจากกันได้ เพื่อเป็นการลดเวลาในการตกตะกอนของสารแขวนลอย นักวิทยาศาสตร์จึงได้คิดค้นเครื่องเหวี่ยง (centrifuge) แรงเหวี่ยงดังกล่าวจะทำให้ของแข็งที่แขวนลอยในของเหลวตกตะกอนได้ง่ายและเร็วขึ้น



รูปแสดงเครื่องเหวี่ยงที่ใช้ในการตกตะกอน

ที่มา
















วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2552


ที่มาhttp://www.google.co.th/imgres?imgurl=http://www.corrosionsource.com/handbook/periodic/periodic_table.gif&imgrefurl=http://blog.hunsa.com/piyanunthancha/cat/14801&h=480&w=580&sz=19&tbnid=G4wY8RtD2Q3AMM:&tbnh=111&tbnw=134&prev=/images%3Fq%3D%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%2598%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25B8&hl=th&usg=___JmxKLQmszAiPp10-mNzkXgAQxI=&ei=z0acSoiAEYuNkAWjzcG3Dw&sa=X&oi=image_result&resnum=6&ct=image
การจำแนกสารรอบตัว
1. ถ้าใช้สถานะของสารเป็นเกณฑ์ สามารถจัดกลุ่มได้ 3 กลุ่มดังนี้
1.1 สารที่มีสถานะเป็นของแข็ง
1.2 สารที่มีสถานะเป็นของเหลว
1.3 สารที่มีสถานะเป็นก๊าซ
2. ถ้าใช้สารเป็นเกณฑ์ สามารถจัดได้ 2 กลุ่มคือ สารเนื้อเดียวสารเนื้อ และประสม
2.1 สารเนื้อเดียว หมายถึง สารชนิดเดียวหรือสาร 2 ชนิดผสมกันอยู่อย่างกลมกลืนกัน
2.2 สารเนื้อผสม หมายถึง สารตั้งแต่ 2 ชนิดผสมกันแต่เนื้อสารไม่กลมกลืนกัน

สารละลาย
สารละลาย หมายถึง สารที่ไม่บริสุทธิ์ตั้งแต่ 2 ชนิดมารวมกัน แล้วเกิดละลายเป็น
เนื้อเดียวกัน สารละลาย มี 3 ชนิดคือ ของแข็ง ของเหลว และก๊าซ
สารละลายเข้มข้น หมายถึง สารละลายที่มีปริมาณตัวถูกทำลายมาก
สารละลายเจือจาง หมายถึง สารละลายที่มีปริมาณตัวถูกทำลายน้อย
สารละลายอิ่มตัว หมายถึง สารละลายที่ไม่สามารถละลายตัวถูกละลายได้อีก
สารละลายอิ่มตัวยวดยิ่ง หมายถึง สารละลายที่มีตัวถูกละลายอยู่ในปริมาณที่เกิน
กว่าอัตราที่ละลาย ได้ที่อุณหภูมิห้อง

สารบริสุทธิ์
สารบริสุทธิ์ หมายถึง สารเนื้อเดียวที่มีองค์ประกอบเพียงชนิดเดียว จึงมีสมบัติ
เหมือนกันตลอด สารที่ใช้ในบ้าน
1.สารที่เป็นกรด หมายถึง สารที่สามารถเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีน้ำเงินเปลี่ยนเป็นสีแดงแต่ไม่เปลี่ยน สีกระดาษลิตมัสสีแดง
2.สารที่เป็นเบส หมายถึง สารที่สามารถเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีแดงเป็นสีน้ำเงินแต่ไม่เปลี่ยนสีกระดาษ ลิตมัสสีน้ำเงิน
3.สารที่เป็นกลาง หมายถึง สารที่ไม่สามารถเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสทั้ง 2 สี

ที่มาhttp://www.geocities.com/sci123th/m3.html

วันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ประวัติศาสตร์ไทย

















มรดกล้ำเลิศ กำเนิดลายสือไทย เล่นไฟลอยกระทง มั่นคงพระพุทธศาสนางามตาผ้าตีนจก สังคโลกทองโบราณ สักการแม่ย่าพ่อขุน รุ่งอรุณแห่งความสุขสุโขทัย ในอดีตเคยเป็นราชธานีแห่งแรกของชาติไทย เมื่อ 700 ปีมาแล้ว ปัจจุบันเป็นจังหวัดหนึ่งในเขตภาคเหนือตอนล่าง คำว่า สุโขทัย มาจากคำสองคำคือ สุข+อุทัย หมายความว่า รุ่งอรุณแห่งความสุข สุโขทัยได้เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อประมาณปี พ. ศ. 1780-1800 มีการสถาปนาราชวงศ์พระร่วงขึ้นปกครองสุโขทัย โดยมีพ่อขุนศรีอินทราทิตย์เป็นปฐมกษัตริย์ ตลอดระยะเวลา 120 ปี ราชวงศ์สุโขทัย มีกษัตริย์ปกครองหลายพระองค์ ที่สำคัญคือ "พ่อขุนรามคำแหงมหาราช" ผู้ทรงประดิษฐ์อักษรไทย และวางรากฐานการเมือง การปกครอง ศาสนา ตลอดจนขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง และด้วยความสำคัญในฐานะที่เป็นเอกลักษณ์ทางศิลปะของไทยในสมัยเริ่มสร้างอาณาจักรที่ยังหลงเหลืออยู่ในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ได้รับการยกย่องให้เป็น มรดกโลก โดยองค์การ UNESCO เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2534อาณาเขตทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดแพร่ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดกำแพงเพชรทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดพิษณุโลก และจังหวัดอุตรดิตถ์ทิศตะวันตก ติดต่อจังหวัดตาก และจังหวัดลำปางสุโขทัยมรดกโลกล้ำเลิศ กำเนิดลายสือไทย เล่นไฟลอยกระทง ดำรงพุทธศาสนา งามตาผ้าตีนจก สังคโลกทองโบราณ สักการะแม่ย่าพ่อขุน รุ่งอรุณแห่งความสุขสุโขทัย ในอดีตเคยเป็นราชธานีแห่งแรกของชาติไทย เมื่อ ๗๐๐ ปีมาแล้ว ปัจจุบันเป็นจังหวัดหนึ่งในเขตภาคเหนือตอนล่าง สุโขทัยอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ ๔๒๗ กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ ๖,๕๙๖ ตารางกิโลเมตรคำว่า “สุโขทัย” มาจากคำสองคำคือ “สุข+อุทัย” หมายความว่า “รุ่งอรุณแห่งความสุข” สุโขทัยได้เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อประมาณ พ. ศ. ๑๘๐๐ มีการสถาปนาราชวงศ์พระร่วงขึ้นปกครองสุโขทัย โดยมีพ่อขุนศรีอินทราทิตย์เป็นปฐมกษัตริย์ตลอดระยะเวลา ๑๒๐ ปี ราชวงศ์สุโขทัย มีกษัตริย์ปกครองหลายพระองค์ ที่สำคัญคือ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ผู้ทรงประดิษฐ์อักษรไทย วางรากฐานการเมือง การปกครอง และศาสนา ตลอดจนขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง ถึงแม้ว่าทุกวันนี้ความรุ่งเรืองของกรุงสุโขทัยได้กลายเป็นอดีตไปแล้วตามวัฏจักรความจริงที่ว่า มีเจริญก็ย่อมมีเสื่อม เมืองคู่แฝด (สุโขทัยและศรีสัชนาลัย) อันลือลั่นและเกรียงไกรเหลือเพียงซากปรักหักพังไว้เป็นอนุสรณ์ แต่นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาสุโขทัยก็ควรเคารพต่อวิญญาณบรรพบุรุษ และท่องเที่ยวโดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อชื่นชมพร้อมย้อนรอยอดีตในเสี้ยวหนึ่งของประวัติศาสตร์ไทยอันยาวนานจังหวัดสุโขทัยแบ่งการปกครองออกเป็น ๙ อำเภอ คือ อำเภอเมืองสุโขทัย อำเภอกงไกรลาศ อำเภอคีรีมาศอำเภอทุ่งเสลี่ยม อำเภอบ้านด่านลานหอย อำเภอศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสำโรง อำเภอสวรรคโลก และอำเภอศรีนครอาณาเขตทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดแพร่ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดกำแพงเพชรทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดพิษณุโลก และจังหวัดอุตรดิตถ์ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดตาก และจังหวัดลำปางการเดินทางรถยนต์ จากกรุงเทพฯ สามารถเดินทางได้ ๒ เส้นทาง คือ๑. จากทางหลวงหมายเลข ๑ ผ่านจังหวัดนครสวรรค์ และกำแพงเพชร เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข ๑๐๑ ผ่านอำเภอพรานกระต่าย และอำเภอคีรีมาศ เข้าสู่จังหวัดสุโขทัย รวมระยะทาง ๔๔๐ กิโลเมตร๒. จากทางหลวงหมายเลข ๑ ไปจนถึงประมาณกิโลเมตรที่ ๕๐ บริเวณแยกอำเภอบางปะอินจังหวัดพระนครศรีอยุธยา แล้วเข้าเส้นทางหลวงหมายเลข ๓๒ ผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยามุ่งสู่นครสวรรค์ แล้วเข้าทางหลวงหมายเลข ๑๑๗ ตรงเข้าจังหวัดพิษณุโลก แล้วใช้ทางหลวงหมายเลข ๑๒ เข้าสู่จังหวัดสุโขทัย รวมระยะทาง ๔๒๗ กิโลเมตรรถโดยสารประจำทาง บริษัท ขนส่ง จำกัด มีรถโดยสารทั้งแบบธรรมดา และปรับอากาศ ออกจากสถานีขนส่ง หมอชิต ถนนกำแพงเพชร ๒ ทุกวัน ใช้เวลาเดินทางประมาณ ๗ ชั่วโมง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่โทร. ๐ ๒๕๓๗ ๘๐๕๕-๖, ๐ ๒๙๓๖ ๒๘๕๒-๖๖ สถานีขนส่งจังหวัด โทร. ๐ ๕๕๖๑ ๓๒๙๖และ HYPERLINK "http://www.transport.co.th" www.transport.co.thนอกจากนี้ยังมีบริษัทเดินรถเอกชนวิ่งบริการ ได้แก่ บริษัท วินทัวร์ จำกัด โทร. ๐ ๕๕๖๑ ๑๐๓๙ กรุงเทพฯโทร. ๐ ๒๙๓๖ ๓๗๕๓ บริษัท พิษณุโลกยานยนต์ จำกัด โทร. ๐ ๕๕๒๕ ๘๖๔๗, ๐ ๕๕๒๕ ๘๙๔๑ กรุงเทพฯโทร. ๐ ๒๙๓๖ ๒๙๒๔-๕รถไฟ การรถไฟแห่งประเทศไทย มีขบวนรถด่วน และรถเร็วออกจากสถานีรถไฟหัวลำโพง ไปลงที่สถานีพิษณุโลกทุกวัน แล้วเดินทางต่อโดยรถประจำทางไปจังหวัดสุโขทัยอีกประมาณ ๕๙ กิโลเมตร สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หน่วยบริการเดินทาง โทร. ๑๖๙๐, ๐ ๒๒๒๐ ๔๓๓๔, ๐ ๒๒๒๐ ๔๔๔๔ HYPERLINK "http://www.railway.co.th" www.railway.co.thเครื่องบิน บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด มีเที่ยวบินตรงไปสุโขทัย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่โทร. ๐ ๒๒๖๕ ๕๖๗๘, ๐ ๒๒๖๕ ๕๕๕๕ สาขาสุโขทัย โทร. ๐ ๕๕๖๔ ๗๒๒๔-๕ HYPERLINK "http://www.bangkokair.com" www.bangkokair.comและ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) มีเที่ยวบินจากกรุงเทพฯ ไปลงที่จังหวัดพิษณุโลกทุกวัน โทร ๐ ๒๓๕๖ ๑๑๑๑,๐ ๒๖๒๘ ๒๐๐๐ และ ๐ ๒๒๘๘ ๗๐๐๐ แล้วเดินทางไปสุโขทัยต่อโดยรถยนต์ สอบถามเที่ยวบินเพิ่มเติมได้ที่ โทร. ๑๕๖๖, ๐ ๒๒๘๐ ๐๐๖๐, ๐ ๒๖๒๘ ๒๐๐๐ สาขาพิษณุโลก โทร. ๐ ๕๕๒๔ ๒๙๗๑-๒ HYPERLINK "http://www.thaiairways.com" www.thaiairways.comระยะทางจากตัวเมืองไปอำเภอใกล้เคียงอำเภอศรีสำโรง ๒๐ กิโลเมตรอำเภอกงไกรลาศ ๒๑ กิโลเมตรอำเภอคีรีมาศ ๒๒ กิโลเมตรอำเภอบ้านด่านลานหอย ๒๘ กิโลเมตรอำเภอสวรรคโลก ๓๘ กิโลเมตรอำเภอศรีนคร ๕๔ กิโลเมตรอำเภอศรีสัชนาลัย ๖๗ กิโลเมตรอำเภอทุ่งเสลี่ยม ๖๘ กิโลเมตรระยะทางจากจังหวัดสุโขทัยไปจังหวัดใกล้เคียงจังหวัดพิษณุโลก ๕๙ กิโลเมตรจังหวัดกำแพงเพชร ๗๗ กิโลเมตรจังหวัดตาก ๗๙ กิโลเมตรจังหวัดอุตรดิตถ์ ๑๐๐ กิโลเมตรจังหวัดแพร่ ๑๖๕ กิโลเมตรจังหวัดลำปาง ๒๐๗ กิโลเมตรสถานที่น่าสนใจอำเภอเมืองศาลพระแม่ย่า ตั้งอยู่หน้าศาลากลางจังหวัดสุโขทัย ถนนนิกรเกษม ริมแม่น้ำยม เป็นที่เคารพสักการะของชาวเมืองสุโขทัย ศาลนี้เป็นที่ประดิษฐานดวงพระวิญญาณของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชและเทวรูปพระแม่ย่า ทำด้วยศิลาสลักแบบเทวรูป พระพักตร์ยาว พระหนุเสี้ยม พระเกตุมาลายาวประดับเครื่องทรงแบบนางพญา มีความสูง ๑ เมตร ศาลพระแม่ย่าสันนิษฐานว่าสร้างในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เพื่ออุทิศให้กับพระมารดา คือนางเสือง เหตุที่เรียกว่า “พระแม่ย่า” นี้เพราะว่าพ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงเรียกมารดาว่า “พระแม่” และชาวเมืองสุโขทัยเคารพพ่อขุนรามคำแหงมหาราชเสมอด้วยบิดา จึงเรียกพระมารดาของพระองค์ว่า “พระแม่ย่า” แต่เดิมศาลพระแม่ย่าประดิษฐานอยู่บนเขาพระแม่ย่า มีเพิงหินเป็นผาป้องกันแดดและฝน ต่อมาชาวจังหวัดสุโขทัยได้อัญเชิญมาประดิษฐานที่เมืองใหม่ โดยสร้างศาลขึ้นที่หน้าศาลากลางจังหวัดดังเช่นปัจจุบัน และประมาณปลายเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปีมีการจัดงานเฉลิมฉลองที่ศาลพระแม่ย่า เรียกว่า“งานพระแม่ย่า” การเดินทาง ในเขตเทศบาลมีรถโดยสารประจำทางผ่านไปศาลพระแม่ย่าทุกวันพิพิธภัณฑ์สังคโลกสุโขทัย ตั้งอยู่บริเวณเมืองเอกพลาซ่า ถนนบายพาส ห่างจากเมืองเก่าประมาณ ๑๒ กิโลเมตร ภายในจัดแสดงโบราณวัตถุประเภทเครื่องสังคโลกที่มีคุณค่ากว่า ๒,๐๐๐ ชิ้น ที่ได้รวบรวมมาจากในประเทศและต่างประเทศ พิพิธภัณฑ์เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐-๑๗.๐๐ น. อัตราค่าเข้าชม ชาวไทย ผู้ใหญ่ ๕๐ บาทเด็ก ๒๐ บาท นักเรียนในเครื่องแบบ ๒๐ บาท ชาวต่างประเทศ ผู้ใหญ่ ๑๐๐ บาท เด็ก ๕๐ บาท สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. ๐ ๕๕๖๑ ๔๓๓๓การเดินทาง สามารถนั่งรถโดยสารประจำทาง หรือ รถสามล้อจากตลาดในตัวเมืองไปพิพิธภัณฑ์พิพิธภัณฑ์ปลาในวรรณคดีเฉลิมพระเกียรติ ตั้งอยู่ภายในสวนหลวงเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ เส้นทางหลวงหมายเลข ๑๒ สายสุโขทัย-พิษณุโลก พิพิธภัณฑ์อยู่ทางขวามือ ภายในอาคารพิพิธภัณฑ์จัดแสดงพันธุ์ปลาน้ำจืดในวรรณคดีมากมาย อาทิ ปลาจากกาพย์ห่อโคลงนิราศพระบาท กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง กาพย์เห่เรือเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศ (เจ้าฟ้ากุ้ง) เป็นต้น พิพิธภัณฑ์เปิดให้เข้าชมทุกวัน เว้นวันอังคาร ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐-๑๗.๐๐ น. โดยไม่เสียค่าเข้าชมการเดินทาง สามารถขึ้นรถโดยสารประจำทางสายพิษณุโลก-สุโขทัย จากสถานีขนส่งมาลงที่สวนหลวงเฉลิมพระเกียรติ ร.๙พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหง ตั้งอยู่ทางด้านขวาของอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย เป็นที่รวบรวมและจัดแสดงโบราณวัตถุที่ได้จากการขุดค้นทางโบราณคดีภายในเมืองสุโขทัยและที่ประชาชนมอบให้ บริเวณพิพิธภัณฑ์แบ่งส่วนการแสดงไว้เป็น ๓ ส่วนคือ๑. อาคารลายสือไท ๗๐๐ ปี เป็นอาคารใหม่ที่ตั้งอยู่ด้านหน้าทางเข้าอาคารใหญ่ เป็นที่จัดแสดงศิลปวัตถุสมัยสุโขทัย อาทิ พระพุทธรูป เครื่องใช้ ถ้วยชาม เครื่องสังคโลก และศิลาจารึก๒. อาคารพิพิธภัณฑ์ แบ่งออกเป็น ๒ ชั้น ชั้นล่าง จัดแสดงศิลปะโบราณวัตถุที่ได้จากการสำรวจ ขุดค้น ขุดแต่ง และบูรณะแหล่งโบราณคดีสุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร และ ชั้นบน จัดแสดงศิลาจารึกสมัยสุโขทัย พระพุทธรูปสำริด เทวรูป โอ่งสังคโลก เครื่องศาสตราวุธ เครื่องถ้วยชามสังคโลก เงินตรา ท่อน้ำแสดง และแสดงระบบชลประทานสมัยสุโขทัย๓. พิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง อยู่ด้านนอกโดยรอบอาคารใหญ่ เป็นที่จัดแสดงศิลปวัตถุต่าง ๆ อาทิ พระพุทธรูปศิลา แผ่นจำหลัก รูปทรงอาคารไทยแบบต่าง ๆ เตาทุเรียงจำลอง และเสมาธรรมจักรศิลา เป็นต้นพิพิธภัณฑ์เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา ๐๙.๓๐-๑๖.๐๐ น. อัตราค่าเข้าชม นักท่องเที่ยว ชาวไทย ๑๐ บาทชาวต่างประเทศ ๓๐ บาท หรือสามารถซื้อบัตรรวมได้ ชาวไทย ๓๐ บาท ชาวต่างประเทศ ๑๕๐ บาท โดยบัตรนี้สามารถเข้าชมอุทยานฯ ต่าง ๆ ในจังหวัดสุโขทัยได้ ภายในระยะเวลา ๓๐ วัน ในกรณีที่ประสงค์จะเข้าชมเป็นหมู่คณะควรติดต่อล่วงหน้าที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง ถนนจรดวิถีถ่อง ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองจังหวัดสุโขทัย ๖๔๒๑๐โทร/โทรสาร ๐ ๕๕๖๙ ๗๓๖๗ HYPERLINK "http://www.thailandmuseum.com" www.thailandmuseum.comอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย (เมืองเก่าสุโขทัย) อยู่ตรงข้ามพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหง ห่างจากตัวจังหวัดสุโขทัยไปทางทิศตะวันตกประมาณ ๑๒ กิโลเมตร ถนนจรดวิถีถ่อง ทางหลวงหมายเลข ๑๒ สายสุโขทัย-ตากอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยเป็นมรดกทางประวัติศาสตร์ของไทยสมัยเริ่มสร้างอาณาจักรที่ยังหลงเหลืออยู่โดยได้รับการยกย่องจากองค์การยูเนสโก เมื่อเดือนธันวาคม ๒๕๓๔ ให้เป็น “มรดกโลก” เนื่องจากในอดีตเมืองสุโขทัยเคยเป็นราชธานีของไทยมีความเจริญรุ่งเรือง เป็นศูนย์กลางการปกครอง ศาสนา และเศรษฐกิจ ภายในอุทยานฯ มีสถานที่สำคัญที่เป็นพระราชวัง ศาสนสถาน โบราณสถาน โดยมีคูเมือง กำแพงเมือง และประตูเมืองโบราณล้อมรอบอยู่ในรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ประกอบไปด้วยสถานที่สำคัญ ๆ ได้แก่โบราณสถานภายในกำแพงเมืองพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๘ ตั้งอยู่ริมถนนจรดวิถีถ่อง ทางทิศเหนือของวัดมหาธาตุ เป็นพระบรมรูปหล่อด้วยโลหะทองเหลืองผสมทองแดงรมดำ ขนาด ๒ เท่าขององค์จริง สูง ๓ เมตร ประทับนั่งห้อยพระบาทบนแท่นมนังคศิลาบาตร พระหัตถ์ขวาถือคัมภีร์ พระหัตถ์ซ้ายอยู่ในท่าทรงสั่งสอนประชาชน แท่นด้านซ้ายมีพานวางพระขรรค์ไว้ข้าง ๆ ลักษณะพระพักตร์เหมือนอย่างพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยตอนต้นที่ถ่ายทอดความรู้สึกว่า พ่อขุนรามคำแหงมหาราชมีน้ำพระทัยเมตตากรุณา ยุติธรรม มีความเด็ดขาดในการปกครองแบบพ่อปกครองลูก ที่ด้านข้างมีภาพแผ่นจำหลักจารึกเหตุการณ์เกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของพระองค์ตามที่อ้างถึงในจารึกสุโขทัยกำแพงเมืองสุโขทัย ตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองเก่า ปรากฏหลักฐานในศิลาจารึก เรียกว่า ตรีบูร มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีขนาดกว้าง ๑,๓๐๐ เมตร ยาว ๑,๘๐๐ เมตร กำแพงชั้นในเป็นศิลาแลงก่อบนคันดิน กำแพง ๒ ชั้นนอกเป็นคูน้ำสลับกับคันดิน นอกจากทำหน้าที่ป้องกันข้าศึกแล้ว คูน้ำยังใช้ระบายน้ำไม่ให้ไหลท่วมเมืองอีกด้วย ระหว่างกึ่งกลางแต่ละด้านมีประตูเมือง และป้อมหน้าประตูด้วยวัดมหาธาตุ ตั้งอยู่กลางเมือง เป็นวัดใหญ่ และวัดสำคัญของกรุงสุโขทัย มีพระเจดีย์มหาธาตุทรงดอกบัวตูมหรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ศิลปะแบบสุโขทัยแท้ เป็นเจดีย์ประธาน รายรอบด้วยเจดีย์ ๘ องค์ บนฐานเดียวกัน คือ ปรางค์ศิลาแลงตั้งอยู่ที่ทิศทั้ง ๔ และเจดีย์ทรงปราสาทก่อด้วยอิฐที่ได้รับอิทธิพลมาจากล้านนา จากการสำรวจ พบว่าบริเวณวัดมหาธาตุมีเจดีย์แบบต่าง ๆ มากถึง ๒๐๐ องค์ วิหาร ๑๐ แห่ง ซุ้มพระ (มณฑป) ๘ ซุ้ม พระอุโบสถ ๑ แห่ง ตระพัง ๔ แห่งด้านตะวันออกบนเจดีย์ประธานมีวิหารขนาดใหญ่ก่อด้วยศิลาแลง มีแท่นซึ่งเคยเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำริดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย คือ พระศรีศากยมุนี ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดสุทัศน์ฯ กรุงเทพมหานคร ที่ด้านเหนือ และด้านใต้ของเจดีย์มหาธาตุมีพระพุทธรูปยืนภายในซุ้ม เรียกว่า “พระอัฎฐารศ”วัดชนะสงคราม ตั้งอยู่ทางด้านเหนือของวัดมหาธาตุ ใกล้กับหลักเมือง เดิมเรียกว่า วัดราชบูรณะ มีลักษณะเด่นคือ เจดีย์ทรงระฆังกลมขนาดใหญ่ เป็นเจดีย์ประธาน มีวิหาร โบสถ์ และเจดีย์รายเนินปราสาทพระร่วง หรือ เขตพระราชวังในสมัยสุโขทัย ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกติดกับวัดมหาธาตุ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวสันนิษฐานว่าบริเวณนี้ เคยเป็นฐานปราสาทราชวังของกษัตริย์เมืองสุโขทัยกรมศิลปากรได้ขุดแต่งบูรณะ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๖ พบฐานอาคารแบบฐานบัวค่ำและบัวหงาย มีลักษณะเป็นฐานสูงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด ๒๗.๕๐ x ๕๑.๕๐ เมตร มีบันไดที่ด้านหน้าและด้านหลังวัดตระพังเงิน (คำว่า “ตระพัง” หมายถึง สระน้ำหรือหนองน้ำ) เป็นโบราณสถานสำคัญ ตั้งอยู่บริเวณขอบตระพังเงินด้านทิศตะวันตกของวัดมหาธาตุ ห่างจากวัดมหาธาตุ ๓๐๐ เมตร โบราณสถานนี้ไม่มีกำแพงแก้ว ประกอบด้วยเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์หรือทรงดอกบัวตูมเป็นประธาน ที่เรือนธาตุทั้งสี่ด้านประดิษฐานพระพุทธรูปยืน และพระพุทธรูปปางลีลา มีวิหารประกอบอยู่ด้านหน้า และทางด้านตะวันออกของเจดีย์เป็นเกาะมีโบสถ์ตั้งอยู่กลางน้ำวัดสระศรี เป็นวัดที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของวัดมหาธาตุ เป็นโบราณสถานสำคัญตั้งอยู่บนเกาะกลางน้ำขนาดใหญ่ ชื่อว่า ตระพังตระกวน และสิ่งสำคัญของวัดประกอบด้วยเจดีย์ประธานทรงลังกา ด้านหน้าวิหารขนาดใหญ่ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย มีเจดีย์ขนาดเล็ก ศิลปศรีวิชัยผสมลังกา ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ มีซุ้มพระพุทธรูป ๔ ทิศ ด้านหน้ามีเกาะกลางน้ำขนาดย่อมเป็นที่ตั้งของพระอุโบสถขนาดเล็ก วัดแห่งนี้ได้ชื่อว่าเป็นจุดที่มีทัศนียภาพที่สวยงามวัดศรีสวาย ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของวัดมหาธาตุ ห่างออกไปประมาณ ๓๕๐ เมตร โบราณสถานที่สำคัญตั้งอยู่ในกำแพงแก้ว ประกอบด้วยปรางค์ ๓ องค์ ศิลปะลพบุรี ลักษณะของปรางค์ค่อนข้างเพรียว ตั้งอยู่บนฐานเตี้ย ๆ ลวดลายปูนปั้นบางส่วนเหมือนลายบนเครื่องถ้วยจีน สมัยราชวงศ์หยวน เดิมพบทับหลังสลักเป็นรูปนารายณ์บรรทมสินธุ์ ชิ้นส่วนของเทวรูป และศิวลึงค์ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเคยเป็นเทวสถานในศาสนาฮินดูมาก่อน แล้วแปลงเป็นวัดในพุทธศาสนาโดยต่อเติมวิหารขึ้นที่ด้านหน้าศาลตาผาแดง มีลักษณะเป็นโบราณสถานตามแบบศิลปเขมรก่อด้วยศิลาแลง สมัยนครวัด (พ. ศ. ๑๖๕๐-๑๗๐๐) ต่อมากรมศิลปากรได้ดำเนินการขุดแต่งและบูรณะศาลนี้ได้พบชิ้นส่วนเทวรูปและเทวสตรีประดับด้วยเครื่องตกแต่ง ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหงโบราณสถานนอกกำแพงเมืองด้านเหนือศูนย์บริการนักท่องเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย เป็นอาคารทรงไทยสถาปัตยกรรมแบบสุโขทัย อยู่หน้าวัดพระพายหลวง ภายในอาคารเป็นศูนย์ให้ข้อมูล และอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวที่มาชมอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย รวมทั้งจัดแสดงแบบจำลองโบราณสถานต่าง ๆ ในเขตเมืองเก่าสุโขทัย นักท่องเที่ยวควรเริ่มต้นชมอุทยานฯ จากจุดนี้เพื่อจะได้เห็นภาพรวมของสุโขทัยในอดีตแหล่งโบราณคดีเครื่องปั้นดินเผาสุโขทัย (เตาทุเรียง) อยู่ใกล้วัดพระพายหลวง บริเวณแนวคูเมืองเก่าที่เรียกว่า “แม่โจน” เป็นเตาเผาถ้วยชามสมัยสุโขทัย มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ พบเตาโดยรอบ ๔๙ เตา ซึ่งส่วนใหญ่อยู่บริเวณคันคูแม่น้ำโจนด้านทิศเหนือ ๓๗ เตา ด้านทิศใต้ข้างกำแพงเมือง ๙ เตา และด้านทิศตะวันออก ๓ เตา เตาเผาเครื่องสังคโลกมีลักษณะคล้ายประทุนเกวียนขนาดกว้าง ๑.๕๐-๒.๐๐ เมตร ยาว ๔.๕ เมตร เครื่องปั้นดินเผาที่พบบริเวณนี้ส่วนใหญ่เป็นถ้วยชาม มีขนาดใหญ่หนา น้ำยาเคลือบขุ่น สีเทาแกมเหลือง มีลายเขียนสีดำ ส่วนใหญ่ทำเป็นรูปดอกไม้ ปลา และจักรวัดพระพายหลวง เป็นโบราณสถานขนาดใหญ่มีความสำคัญเป็นอันดับสองรองจากวัดมหาธาตุ ผังวัดเป็นรูป สี่เหลี่ยมผืนผ้า มีคูน้ำล้อมรอบ ๓ ชั้น คูชั้นนอกเรียกว่า คูแม่โจน วัดพระพายหลวงเป็นศูนย์กลางของชุมชน โบราณสถานที่ เก่าแก่ที่สุดของวัด คือ พระปรางค์ ๓ องค์ เป็นปรางค์ประธาน ก่อด้วยศิลาแลง ศิลปะเขมรแบบบายน สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ด้านหน้าของวัดเป็นอาคารที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้น ๔ อิริยาบถ คือ นั่ง นอน ยืน และเดินวัดศรีชุม ตั้งอยู่ห่างจากวัดพระพายหลวงไปทางทิศตะวันตก ๘๐๐ เมตร เป็นวัดที่ประดิษฐาน พระอัจนะ เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยขนาดใหญ่ หน้าตักกว้าง ๑๑.๓๐ เมตร ลักษณะของวิหารสร้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมลักษณะคล้ายมณฑป แต่หลังคาพังทลายลงมาหมดแล้ว เหลือเพียงผนังทั้งสี่ด้าน ผนังแต่ละด้าน ก่ออิฐถือปูนอย่างแน่นหนา ผนังทางด้านใต้มีช่องให้คนเข้าไปภายใน และเดินขึ้นไปตามทางบันไดแคบ ๆ ถึงผนังด้านข้างขององค์พระอัจนะ หรือสามารถขึ้นไปถึงสันผนังด้านบนได้ ภายในช่องกำแพงตามฝาผนังมีภาพเขียนเก่าแก่แต่เลอะเลือนเกือบหมด ภาพเขียนนี้มีอายุเกือบ ๗๐๐ ปี นอกจากนี้แล้วบนเพดานช่องบันไดยังมีแผ่นหินชนวนขนาดใหญ่แกะสลักลวดลายเรื่องชาดกต่าง ๆ มีจำนวนทั้งหมด ๕๐ ภาพ เมื่อเดินตามช่องทางบันไดขึ้นไปจะโผล่บนหลังคาวิหารมองเห็นทิวทัศน์อันงดงามของเมืองเก่าสุโขทัยได้โดยรอบเหตุที่วิหารวัดศรีชุมมีความเร้นลับซ่อนอย่างนี้ หากพิจารณากันอย่างลึกซึ้งแล้วจะพบว่าพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์พระร่วงทรงพระปรีชาสามารถในด้านการปลุกปลอบใจทหารหาญ เนื่องจากผนังด้านข้างขององค์พระอัจนะมีช่องเล็ก ๆ ถ้าใครแอบเข้าไปทางอุโมงค์แล้วไปโผล่ที่ช่องนี้ และพูดออกมาดัง ๆ ผู้ที่อยู่ภายในวิหารจะต้องนึกว่าพระอัจนะพูดได้ และเสียงพูดนั้นจะกังวานน่าเกรงขาม เพราะวิหารนี้ไม่มีหน้าต่าง แต่เดิมคงมีหลังคาเป็นรูปโค้งคล้ายโดมโบราณสถานนอกกำแพงเมืองด้านตะวันตกวัดช้างรอบ อยู่ห่างจากประตูอ้อไปทางทิศตะวันตกประมาณ ๒.๔ กิโลเมตร มีโบราณสถานที่สำคัญประกอบด้วย เจดีย์ทรงกลมแบบลังกา ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีช้างโผล่ครึ่งตัว จำนวน ๒๔ เชือก พระอุโบสถอยู่ด้านหน้าเจดีย์ประธาน และมีเจดีย์ราย ๕ องค์ ล้อมรอบเจดีย์ประธาน และโบสถ์วัดสะพานหิน วัดนี้ตั้งอยู่บนเนินเขา สูงประมาณ ๒๐๐ เมตร บริเวณทางเดินขึ้นโบราณสถานมีทางเดินปูลาดด้วยหินชนวนจากตีนเขาขึ้นไปเป็นระยะทาง ๓๐๐ เมตร สิ่งสำคัญภายในวัด ได้แก่ พระประธานเป็นพระพุทธรูปยืนขนาดใหญ่ เป็นที่ประดิษฐานพระปางประทานอภัย สูง ๑๒.๕๐ เมตร เรียกว่า “พระอัฏฐารศ”เขื่อนสรีดภงค์ หรือ ทำนบพระร่วง ตั้งอยู่บริเวณเมืองเก่า เป็นคันดินกั้นระหว่างเขาพระบาทใหญ่ และเขากิ่วอ้ายมา สร้างขึ้นเพื่อกักน้ำ และชักน้ำไปตามคลองสู่กำแพงเมืองไหลเข้าสระตระพังเงิน ตระพังทอง เพื่อนำไปใช้ในเมือง และพระราชวังในสมัยสุโขทัย ปัจจุบันกรมชลประทานได้บูรณะ และซ่อมแซมขึ้นใหม่ สำหรับแหล่งต้นน้ำในอดีตเรียกว่า โซก (หมายถึง ลำธาร) ที่สำคัญได้แก่ โซกพระร่วงลองพระขรรค์ โซกพระร่วงลับพระขรรค์ โซกพม่าฝนหอก และโซกชมพู่ (รัชกาลที่ ๖ เคยเสด็จประพาสในเที่ยวเมืองพระร่วง) ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำที่ไหลมาจากเขาประทักษ์โบราณสถานนอกกำแพงเมืองด้านใต้วัดเชตุพน ศิลปกรรมที่น่าสนใจของวัดคือ มณฑปที่สร้างด้วยหินชนวน เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสี่อิริยาบท คือ นั่ง นอน ยืน เดิน ภายในมณฑปเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปโดยมีการใช้วัสดุทั้งอิฐ หินชนวน ศิลาแลง ในการก่อสร้าง สิ่งที่น่าชมภายในวัด คือ กำแพงแก้วที่ล้อมรอบมณฑปจตุรมุขสร้างจากหินชนวนขนาดใหญ่และหนา โดยมีการสกัดและบากหินเพื่อทำเป็นกรอบ และซี่กรงเลียนแบบเครื่องไม้ และยังได้พบศิลาจารึกหลักที่ ๕๘ จารึกในปี พ. ศ. ๒๐๕๗กล่าวว่าเจ้าธรรมรังสีสร้างพระพุทธรูปในวัดนี้วัดเจดีย์สี่ห้อง ตั้งอยู่ทางตะวันออกของวัดเชตุพน ห่างไปประมาณ ๑๐๐ เมตร สิ่งที่น่าสนใจ คือ ที่ฐานเจดีย์ประธานมีภาพปูนปั้นประดับโดยรอบปั้นเป็นรูปบุรุษ และสตรี สวมอาภรณ์ และเครื่องประดับ ในมือถือภาชนะ มีพรรณพฤกษางอกโผล่พ้นออกมาที่แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ นอกจากนั้นมีปูนปั้นรูปช้าง และสิงห์ประดับรูปบุคคล องค์เจดีย์ประธานเป็นทรงระฆังกลมที่ได้รับการบูรณะ ส่วนยอดเจดีย์ได้หักพังลงโบราณสถานนอกกำแพงเมืองด้านตะวันออกวัดช้างล้อม เป็นโบราณสถานที่สำคัญ มีเจดีย์ทรงกลมแบบลังกาเป็นประธานของวัด รอบฐานเจดีย์ประดับด้วย ปูนปั้นเป็นรูปช้างโผล่ครึ่งตัว ด้านหน้ามีฐานวิหารก่อด้วยอิฐ และยังมีฐานกำแพงแก้วก่อด้วยอิฐล้อมรอบวัดตระพังทองหลาง อยู่ริมถนนจรดวิถีถ่อง หากเดินทางมาจากจังหวัดสุโขทัยวัดตระพังทองหลางอยู่ซ้ายมือ ศิลปกรรมที่สำคัญคือ มณฑปรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสก่อด้วยอิฐ ผนังด้านนอกประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้น ตอนพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากดาวดึงส์ ประทานเทศนาโปรดพระพุทธบิดากับกษัตริย์ศากยราช และตอนเสด็จโปรดนางพิมพา นับเป็นศิลปกรรมชิ้นเอกของสุโขทัยบริเวณพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยครอบคลุมพื้นที่กว่า ๗๐ ตารางกิโลเมตร และมีโบราณสถานสำคัญที่ น่าชมอีกมากมาย กรณีที่นักท่องเที่ยวมีเวลามาก โบราณสถานที่ควรชมนอกเหนือจากที่กล่าวข้างต้นขอแนะนำดังนี้ทิศตะวันออก วัดเจดีย์สูง และวัดเกาะไม้แดงทิศตะวันตก วัดพระบาทน้อย วัดเจดีย์งาม วัดมังกร วัดอรัญญิก และวัดช้างรอบทิศใต้ วัดศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม วัดต้นจัน และวัดอโศการามอัตราค่าเข้าชม นักท่องเที่ยว ชาวไทย ๑๐ บาท ชาวต่างชาติ ๔๐ บาท หรือสามารถซื้อบัตรรวมได้ ชาวไทย๓๐ บาท ชาวต่างประเทศ ๑๕๐ บาท โดยบัตรนี้สามารถเข้าชมอุทยานประวัติศาสตร์ต่าง ๆ ในจังหวัดสุโขทัยได้ภายในระยะเวลา ๓๐ วัน เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่เวลา ๐๖.๐๐-๒๑.๐๐ น. (ปิดจำหน่ายบัตรเวลา ๑๘.๐๐ น.)หมายเหตุ มีการส่องไฟโบราณสถาน ประมาณเวลา ๑๙.๐๐-๒๑.๐๐ น.ในกรณีที่นำยานพาหนะเข้าเขตโบราณสถานต้องเสียค่าธรรมเนียมอีกด้วย และที่บริเวณลานจอดรถของอุทยานฯ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวมีบริการ รถราง นำชมรอบ ๆ บริเวณอุทยานฯ อัตราค่าบริการ นักท่องเที่ยว ชาวไทย ๑๐ บาทชาวต่างประเทศ ๒๐ บาท นอกจากนั้นที่บริเวณด้านหน้าอุทยานฯ มีบริการ รถจักรยาน ให้เช่าคันละ ๒๐ บาทกรณีเข้าชมเป็นหมู่คณะ และต้องการวิทยากรนำชม กรุณาติดต่อศูนย์บริการข้อมูลนักท่องเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย ๖๔๒๑๐ โทร. ๐ ๕๕๖๙ ๗๕๒๗, ๐ ๕๕๖๙ ๗๒๔๑การเดินทาง จากตัวเมืองสุโขทัยนักท่องเที่ยวสามารถนั่งรถสองแถวสายเมืองเก่า จากท่ารถใกล้ป้อมตำรวจมาลงที่หน้าอุทยานฯ รถออกทุก ๒๐ นาทีอำเภอคีรีมาศอุทยานแห่งชาติรามคำแหง (เขาหลวง) ครอบคลุมพื้นที่ของอำเภอเมืองสุโขทัย อำเภอบ้านด่านลานหอย และอำเภอคีรีมาศ มีพื้นที่ประมาณ ๒๑๓,๒๑๕ ไร่ ได้รับการประกาศแต่งตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติรามคำแหง เมื่อวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๒๓ เป็นอุทยานแห่งชาติทางประวัติศาสตร์แห่งแรกของเมืองไทยที่น่าสนใจและน่าศึกษา เพราะเป็นการอนุรักษ์ป่าที่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์สมัยกรุงสุโขทัยไว้พร้อมกับพื้นที่ทางธรรมชาติ ในสมัยก่อนเรียกป่านี้ว่า “ป่าเขาหลวง” แต่เมื่อทางการเข้ามาดำเนินการสงวนพื้นที่แห่งนี้ไว้เพื่อประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาตินั้นได้ตั้งชื่อใหม่ว่า “รามคำแหง” ซึ่งเป็นมงคลนาม เพราะมาจากพระนามของกษัตริย์อัจฉริยะของชาติไทย คือ “พ่อขุนรามคำแหงมหาราช” ผู้ครองกรุงสุโขทัยเพราะชื่อเดิมนั้น (เขาหลวง) ซ้ำกับ “ป่าเขาหลวง” ซึ่งเป็นชื่ออุทยานแห่งชาติเขาหลวงที่จังหวัดนครศรีธรรมราช อุทยานแห่งชาติรามคำแหงมีขุนเขาที่สูงเด่นเป็นสง่า คือ ยอดเขาหลวง ภายในอุทยานฯ มีสัตว์ป่า เช่น วัวแดง เก้ง หมี หมูป่า นกกระเต็น และนกนางแอ่น พรรณไม้ที่สำคัญได้แก่ สัก ตะเคียน เต็ง รัง พืชสมุนไพร และว่าน น้ำตกที่สวยงาม และถ้ำต่าง ๆที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ลักษณะภูมิประเทศ และภูมิอากาศ เป็นภูเขาสลับซับซ้อน ทอดตัวอยู่ในแนวเหนือ-ใต้ ตั้งตระหง่านอยู่บนพื้นราบคล้ายจอมปลวกขนาดใหญ่โดดเด่นเป็นสง่าอยู่กลางทุ่งนา สภาพอากาศบนยอดเขาหนาวเย็นตลอดปี มีเมฆหมอกปกคลุมมากในช่วงฤดูหนาว และฤดูฝน อุณหภูมิเฉลี่ยโดยประมาณ ๑๒-๑๔ องศาเซลเซียส ช่วงที่อากาศเย็นสบายอยู่ระหว่างเดือนธันวาคม-มกราคม ช่วงที่เหมาะสมสำหรับการเดินทางไปอุทยานฯ ประมาณเดือนกันยายน-กุมภาพันธ์สถานที่น่าสนใจภายในอุทยานแห่งชาติรามคำแหง ได้แก่เขาหลวง อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลถึง ๑,๒๐๐ เมตร เป็นภูเขาที่มีหน้าผาสูงชัน และมียอดเขาสูงที่สุดอยู่ทางด้าน ทิศใต้ของเมืองสุโขทัย บนยอดเขามีทิวทัศน์ที่สวยงาม และปกคลุมด้วยทุ่งหญ้าธรรมชาติ ประกอบด้วยยอดเขา ๔ ยอดด้วยกัน คือ ยอดเขานารายณ์ สูงจากระดับน้ำทะเล ๑,๑๖๐ เมตร เป็นที่ตั้งของสถานีโทรคมนาคมเขานารายณ์ของกองทัพอากาศมีเนื้อที่ ๒๕ ไร่ บริเวณเขานารายณ์มีหน้าผาที่สวยงาม และสูงชันเหมาะสำหรับเป็นสถานที่พักผ่อนสามารถมองเห็นทิวทัศน์รอบเขา ในเวลากลางคืนจะเห็นแสงไฟจากจังหวัดสุโขทัย และจังหวัดพิษณุโลก ยอดเขาพระแม่ย่า สูงจากระดับน้ำทะเล ๑,๒๐๐ เมตร เดิมเคยเป็นที่ประทับ และจำศีลภาวนาของพระแม่ย่า ยอดเขาภูกา สูงจากระดับน้ำทะเล ๑,๒๐๐ เมตร และ ยอดเขาพระเจดีย์ สูงจากระดับน้ำทะเล ๑,๑๘๕ เมตร เมื่อมองจากยอดเขาเหล่านี้ลงไปสามารถมองเห็นทิวทัศน์ที่สวยงาม และเห็น “สรีดภงค์” และตัวจังหวัดสุโขทัยได้อย่างชัดเจนทุ่งหญ้าธรรมชาติ บนยอดเขาจะเป็นทุ่งหญ้าที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติมีเนื้อที่ประมาณ ๓,๐๐๐ ไร่ มีหญ้าหลายชนิดขึ้นอยู่รวมกัน และบางชนิดเป็นพืชสมุนไพรไทรงาม เป็นต้นไทรขนาดใหญ่แผ่กิ่งก้านสาขาลักษณะสวยงาม เหมาะที่จะไปนั่งพักผ่อน อยู่ระหว่างทางขึ้นยอดเขาหลวงปล่องนางนาค อยู่ห่างจากไทรงาม ๓๒๐ เมตร เป็นปล่องธรรมชาติอยู่บริเวณยอดเขามีความกว้างประมาณ๐.๕ เมตร ยาวประมาณ ๑.๕ เมตร ความลึกไม่สามารถวัดได้ ตามตำนานพระร่วงในพงศาวดารเหนือ เจ้าเมืองออกมาจำศีลที่เขาหลวงจึงเกิดตำนานเรื่องพระร่วงซึ่งเกี่ยวข้องกับปล่องนางนาคนี้สมุนไพร และว่าน ในพื้นที่อุทยานฯ มีว่าน และสมุนไพรหลายชนิด เช่น โด่งไม่รู้ล้ม หอมไกลดง นางคุ้มหนุมานประสานกาย และกำลังเสือโคร่ง เป็นต้นสวนลุ่ม หรือ สวนลุมพินีวัน เป็นสวนว่านยาสมุนไพรอีกแห่งหนึ่งอยู่ที่เชิงเขาหลวง ปัจจุบันคือ ที่ตั้งของสำนักงานอุทยานแห่งชาติรามคำแหง ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของเขาหลวงประตูประวัติศาสตร์ มีประตูทางประวัติศาสตร์ที่ปรากฏอยู่ คือ “ประตูป่า” อยู่ทางทิศเหนือของสวนลุ่มหรือบริเวณที่ตั้งของหน่วยพิทักษ์อุทยานฯ “ประตูมะค่า” อยู่ทางทิศตะวันตก เป็นประตูตั้งอยู่บริเวณเมืองหน้าด่าน“ประตูเปลือย” อยู่ทางทิศตะวันออกของสวนลุ่ม ตั้งอยู่บริเวณด่านตรวจของอุทยานฯ “ประตูพระร่วง” อยู่ทางทิศใต้ของสวนลุ่ม และมีเรื่องเล่ามาว่าเป็นประตูที่พระร่วงเข้ามาเล่นว่าว ณ ที่แห่งนี้น้ำตกสายรุ้ง อยู่ทางทิศตะวันตกของเขาหลวง เป็นน้ำตกที่มีชื่อเสียง และสวยงาม เกิดจากต้นน้ำบริเวณเขาเจดีย์ มาเป็นลำธารคลองไผ่นา ไหลลงมาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ทิ้งตัวลงมาจากผาหินที่สูง เมื่อถูกแสงแดดส่องกระทบกับสายน้ำทำให้เกิดปรากฏการณ์ทางธรรมชาติเป็นสายรุ้งมีสีสันสวยงาม ช่วงระยะเวลาที่สามารถมองเห็นสายรุ้งตั้งแต่เวลา๑๑.๐๐-๑๖.๐๐ น. ภายในบริเวณน้ำตกมีหน่วยพิทักษ์อุทยานฯ อยู่ห่างจากอุทยานฯ ๕๐ เมตร ตัวน้ำตกมีทั้งหมด ๔ ชั้นแต่ละชั้นสามารถลงเล่นน้ำได้ โดยต้องเดินเท้าจากหน่วยพิทักษ์อุทยานฯ ขึ้นไปตามธารน้ำไหล ระยะทาง ๘๐๐ เมตร๙๐๐ เมตร ๑,๑๖๐ เมตร และ ๑,๒๐๐ เมตร ตามลำดับ การเดินทาง จากจังหวัดสุโขทัยใช้หลวงหมายเลข ๑๐๑สุโขทัย-คีรีมาศ พอถึงอำเภอคีรีมาศให้ตรงไปอีกประมาณ ๑๘ กิโลเมตร จะมีทางแยกขวามือโดยผ่านอำเภอบ้านด่านลานหอยเข้าไป ๑๓ กิโลเมตร แล้วมีทางแยกขวาอีกครั้งให้ตรงเข้าไปประมาณ ๔ กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานฯรอยพระพุทธบาท ตั้งอยู่เชิงเขาถ้ำพระบาททำด้วยหินชนวนแกะสลักรอยมงคล ๑๐๘ สร้างในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท อายุประมาณ ๖๐๐ ปีเศษปรางค์เขาปู่จา ก่อด้วยอิฐขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนภูเขาลูกเล็ก ๆ ใกล้กับอุทยานฯ เป็นศิลปะเขมรสมัยบาปวนสร้างสำหรับคนเดินทางเพื่อใช้ประกอบพิธีทางศาสนา มีอายุประมาณ ๑,๕๐๐ ปีเศษถ้ำพระนารายณ์ เป็นสถานที่ที่เคยพบเทวรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมี ซึ่งราษฎรที่พบคิดว่าเป็น พระนารายณ์ ปัจจุบันถูกทุบทำลายจนหมดคงเหลือแต่เฉพาะฐานเท่านั้นถ้ำพระแม่ย่า เป็นเพิงหินขนาดใหญ่เคยเป็นสถานที่ประดิษฐานรูปปั้นพระแม่ย่า ปัจจุบันได้อัญเชิญไว้ที่ศาลพระแม่ย่าบริเวณศาลากลางจังหวัดสุโขทัยถนนพระร่วง เป็นถนนสายประวัติศาสตร์ที่เชื่อมระหว่างเมืองกำแพงเพชรผ่านสุโขทัยจรดศรีสัชนาลัยระยะทาง ๑๒๓ กิโลเมตร เชื่อว่าถนนสายนี้สร้างเมื่อ ๗๐๐ ปีมาแล้ว เพื่อใช้เป็นเส้นทางยุทธศาสตร์อาจถือว่าเป็นทางหลวงแผ่นดินสายแรกของประเทศไทยนอกจากนั้นทางอุทยานฯ ได้จัดทำ เส้นทางศึกษาธรรมชาติ โดยเริ่มจากที่ทำการอุทยานฯ ผ่านสวนสมุนไพรป่าดิบแล้ง ไทรงาม ชั้นดิน และชั้นหิน เป็นต้น ไปสิ้นสุดที่น้ำตกหินราง ระยะทางประมาณ ๓ กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง๒ ชั่วโมง โดยทางอุทยานฯ ได้จัดทำป้ายสื่อความหมายต่าง ๆ ไว้เป็นระยะอัตราค่าเข้าอุทยานฯ นักท่องเที่ยว ชาวไทย ผู้ใหญ่ ๒๐ บาท เด็ก ๑๐ บาท ชาวต่างประเทศ ผู้ใหญ่ ๒๐๐ บาทเด็ก ๑๐๐ บาท นักท่องเที่ยวสามารถใช้บริการลูกหาบขึ้นยอดเขาหลวงราคากิโลกรัมละประมาณ ๑๐ บาท โดยสามารถติดต่อได้ที่อุทยานฯสถานที่พัก อุทยานฯ มีบริการบ้านพักไว้สำหรับนักท่องเที่ยว จำนวน ๓ หลัง พักได้ ๖-๑๐ คน ราคา ๕๐๐ บาท/คืน และมีเต็นท์ให้เช่า พักได้ ๒-๘ คน ราคา ๕๐–๒๐๐ บาท/คืน ถ้านำเต็นท์มาเองเสียค่าพื้นที่ ๓๐ บาท/คน/คืน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ อุทยานแห่งชาติรามคำแหง ตู้ ปณ. ๑ อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย ๖๔๑๖๐ โทร. ๐ ๕๕๖๑ ๙๒๐๐-๑ หรือ กรุงเทพฯ โทร. ๐ ๒๕๖๒ ๐๗๖๐ HYPERLINK "http://www.dnp.go.th" www.dnp.go.thการเดินทาง รถยนต์ จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข ๓๒ ผ่านทางนครสวรรค์ จากนั้นเลี้ยวซ้ายใช้ทางหลวงหมายเลข ๑ ไปจนถึงกำแพงเพชร แล้วเปลี่ยนไปใช้เส้นทางหมายเลข ๑๐๑ จนถึงอำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย ก่อนถึงจังหวัดสุโขทัย ๒๐ กิโลเมตร บริเวณหลักกิโลเมตรที่ ๔๑๔ จะเห็นยอดเขาสูงอยู่ทางซ้ายมือแล้วเลี้ยวซ้ายไปประมาณ๑๖ กิโลเมตร ถึงที่ทำการของอุทยานแห่งชาติรามคำแหงรถประจำทาง จากอำเภอคีรีมาศ นักท่องเที่ยวสามารถเหมารถสองแถวได้ที่บริเวณแยกคีรีมาศ ราคาเที่ยวละประมาณ ๓๕๐-๔๐๐ บาท เข้าไปยังอุทยานฯข้อแนะนำสำหรับนักท่องเที่ยว- อุทยานฯ ไม่อนุญาตให้นักท่องเที่ยวเดินขึ้นยอดเขาหลวงหลังเวลา ๑๕.๓๐ น.- นักท่องเที่ยวที่ต้องการเดินทางไปค้างแรมด้านบนควรเตรียมอาหารให้เพียงพอ- ก่อนการเดินทางนักท่องเที่ยวควรสำรวจความพร้อมทางร่างกาย และเตรียมอุปกรณ์สิ่งของจำเป็นไปด้วยเช่น เสื้อกันหนาว หมวก ไฟฉาย ยา และอาหารแห้ง เป็นต้นอำเภอสวรรคโลกพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสวรรควรนายก ตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองสวรรคโลก หลังวัดสวรรคาราม (วัดกลาง) ห่างจากตัวเมืองสุโขทัย ๓๘ กิโลเมตร มีทางแยกซ้ายเข้าไปอีกประมาณ ๑.๖ กิโลเมตร พิพิธภัณฑ์จัดแสดง ๒ ส่วน ได้แก่ ชั้นบนจัดแสดงประติมากรรมสมัยต่าง ๆ ส่วนใหญ่เป็นสมบัติที่มาจากวัดสวรรควรนายก และพระสวรรควรนายก และบางส่วนย้ายมาจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหง เป็นพระพุทธรูปในยุคสมัยต่าง ๆ ตั้งแต่ก่อนยุคสุโขทัย จนถึงยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น ชั้นล่าง จัดแสดงเครื่องถ้วยสังคโลก เพื่อประโยชน์ในการศึกษาหาความรู้ ขุดพบมากที่แหล่งโบราณคดีเครื่องถ้วยสังคโลกบ้านเกาะน้อย และบ้านป่ายาง อำเภอศรีสัชนาลัย รวมทั้งแสดงเครื่องถ้วยชามสมบัติใต้ทะเลที่งมได้จากแหล่งเรือจมในอ่าวไทย พิพิธภัณฑ์ เปิดให้เข้าชมทุกวัน เว้นวันจันทร์-อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา ๐๘.๓๐-๑๖.๓๐ น.อัตราค่าเข้าชม ชาวไทย ๑๐ บาท ชาวต่างประเทศ ๓๐ บาท ในกรณีเข้าชมเป็นหมู่คณะ และต้องการวิทยากรนำชมโทร. ๐ ๕๕๖๔ ๑๕๗๑, ๐ ๕๕๖๔ ๓๑๖๖ HYPERLINK "http://www.thailandmuseum.com" www.thailandmuseum.comสวนหลวงพระร่วงเฉลิมพระเกียรติ (ทุ่งแม่ระวิง) ตั้งอยู่หมู่ที่ ๙ ตำบลป่ากุมเกาะ เดิมเป็นหนองน้ำสาธารณะขนาดใหญ่ ปัจจุบันมีพื้นที่ทั้งหมด ๘๓๐ ไร่ โดยแบ่งเป็นพื้นน้ำ ๖๔๕ ไร่ พื้นดิน ๑๘๕ ไร่ ลักษณะของสวนนี้เป็นเกาะมีน้ำล้อมรอบมองเห็นทิวทัศน์ได้ เหมาะสำหรับพักผ่อน ภายในบริเวณมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ได้แก่ สะพานไม้โบราณที่ข้ามอ่างน้ำเกาะกลางทุ่งแม่ระวิง มีความยาว ๓๐๐ เมตร สักการะบูชาพระร่วง ณ วงเวียนประดิษฐานรูปพระร่วง อยู่ปากทางเข้าเกาะกลางทุ่งแม่ระวิง สักการะบูชาพระมหาโพธิสัตว์ เจ้าแม่กวนอิม และนมัสการศาลปู่ก๊อก ข้างที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลป่ากุมเกาะ พักผ่อนศาลาริมทาง ชมวิวทิวทัศน์รอบเกาะ และดูงานของโครงการเกษตรผสมผสาน ได้แก่ทำนา ทำสวน เลี้ยงไก่ พิพิธภัณฑ์ชาวนาแหล่งรวบรวมอุปกรณ์ชาวนาโบราณ วิถีชีวิตของชาวนาสมัยสุโขทัย แปลงสวนสมุนไพรสาธิต และเรือนเพาะชำกล้าไม้ นอกจากนั้นภายในบริเวณสวนแห่งนี้มีอาคารเอนกประสงค์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ของดีจังหวัดสุโขทัยอำเภอศรีสัชนาลัยอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองเก่า บริเวณที่เรียกว่า “แก่งหลวง” ห่างจากตัวอำเภอศรีสัชนาลัยลงมาทางอำเภอสวรรคโลก ๑๑ กิโลเมตร หรือห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ ๕๕๐ กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศรีสัชนาลัย ตำบลสารจิตร ตำบลหนองอ้อ และตำบลท่าชัย เมืองโบราณศรีสัชนาลัยอยู่ในเขตหมู่บ้านพระปรางค์ตำบลศรีสัชนาลัย มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ ๔๕.๑๔ ตารางกิโลเมตร เดิมชื่อว่า “เมืองเชลียง” แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น“ศรีสัชนาลัย” ในสมัยกษัตริย์ราชวงศ์พระร่วงขึ้นครองกรุงสุโขทัย และได้สร้างเมืองขึ้นใหม่เป็นศูนย์กลางการปกครองแทนเมืองเชลียง ในบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์มีโบราณสถานและโบราณวัตถุทั้งหมด ๒๑๕ แห่ง สำรวจค้นพบแล้ว ๒๐๔ แห่ง โบราณสถานที่สำคัญ ๆ ได้แก่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ หรือ วัดพระบรมธาตุเมืองเชลียง และเรียกอีกชื่อว่า วัดพระปรางค์ ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองเก่าศรีสัชนาลัย ลงไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ ๓ กิโลเมตร เป็นกลุ่มโบราณสถานขนาดใหญ่ และเป็นพระอารามหลวงชั้นราชวรวิหาร มีโบราณสถานที่สำคัญภายในวัด ได้แก่ ปรางค์ประธาน ก่อด้วยศิลาแลงฉาบปูน ลักษณะรูปแบบเป็นสถาปัตยกรรมจัดอยู่ในสมัยอยุธยา บริเวณเรือนธาตุด้านหน้ามีบันไดขึ้นองค์ปรางค์สู่ซุ้มโถง ผนังภายในองค์ปรางค์พบว่ามีร่องรอยจิตรกรรมฝาผนังแต่ลบเลือนไปมาก ด้านหน้าองค์ปรางค์มีวิหาร ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่ปางมารวิชัย และทางด้านขวามีพระพุทธรูปปูนปั้นปางลีลาลักษณะงดงาม กำแพงวัด เป็นศิลาและแท่นกลมขนาดใหญ่เรียงชิดติดกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง ๖๐.๐๐ เมตร ยาว ๙๐.๐๐ เมตร เหนือซุ้มประตูทำเป็นรูปคล้ายหลังคายอด และเหนือซุ้มขึ้นไปปั้นปูนเป็นรูปพระพักตร์พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร พระธาตุมุเตา อยู่ด้านหลังปรางค์ประธานนอกกำแพงแก้ว มีลักษณะเป็นเจดีย์ทรงมอญ ในการขุดแต่งเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๕ พบทองจังโกประดับส่วนยอดของเจดีย์ มณฑปพระอัฏฐารศ อยู่ด้านหลังของพระธาตุมุเตา เดิมน่าจะเป็นมณฑปพระสี่อิริยาบท ต่อมาได้ซ่อมแซมดัดแปลง ภายในซุ้มคูหามีพระพุทธรูปยืนเดิมมณฑปมุงหลังคาด้วยกระเบื้องดินเผา วิหารพระสองพี่น้อง อยู่ทางซ้ายมณฑปพระอัฏฐารศ ก่อด้วยศิลาแลงมีพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย ๒ องค์ อยู่บนแท่นพระ จากการขุดค้นทางโบราณคดีพบว่าฐานวิหารสองพี่น้องก่อทับอาคารเดิมที่ก่อด้วยอิฐ และด้านข้างทางขวาของพระวิหารพบฐานรอยพระพุทธบาท โบสถ์ ตั้งอยู่ด้านหน้าพระวิหาร ปัจจุบันทางวัดได้บูรณะปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งหลังโดยสร้างทับโบสถ์เดิม กุฏิพระร่วงพระลือ หรือเรียกอีกชื่อว่า ศาลพระร่วงพระลือ มีลักษณะเป็นมณฑป ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสกว้าง หลังคาทรงมณฑปก่ออิฐซ้อนกัน ๔ ชั้น ภายในประดิษฐานรูปหล่อพระร่วงพระลือ(จำลอง)วัดเขาพนมเพลิง ตั้งอยู่บนยอดเขาพนมเพลิงภายในกำแพงเมือง มีเจดีย์ประธานทรงกลม และมณฑปก่อด้วยศิลาแลง ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสยกพื้นสูง หลังคาโค้งแหลม มีบันไดทางขึ้นสู่มณฑป ชาวบ้านเรียกว่า ศาลเจ้าแม่ละอองสำลี สามารถขึ้นวัดได้ ๒ ทาง คือ ทางด้านหน้าวัดแก่งหลวง และด้านข้างวัดซึ่งทางขึ้นได้ทำเป็นบันไดศิลาแลง ระหว่างทางขึ้นทั้งสองด้านมีศาลาพักด้วยวัดเขาสุวรรณคีรี อยู่ทางทิศตะวันตก ถัดจากเขาพนมเพลิงไปประมาณ ๒๐๐ เมตร โดยตั้งอยู่บนเขาอีกยอดหนึ่งในเทือกเขาเดียวกัน กลุ่มโบราณสถานที่สำคัญ คือ เจดีย์ประธานทรงกลมขนาดใหญ่ก่อด้วยศิลาแลง ฐานเขียงใหญ่ ๕ ชั้นใช้เป็นลานประทักษิณ มีซุ้มพระทั้ง ๔ ด้าน ตรงก้านฉัตรมีพระพุทธรูปปูนปั้นปางลีลาเดินจงกรมรอบก้านฉัตรเช่นเดียวกับวัดช้างล้อม ด้านหลังเจดีย์ประธานมีเจดีย์ทรงกลมล้อมรอบด้วยแนวกำแพงศิลาแลงวัดช้างล้อม อยู่ภายในกำแพงเมืองศรีสัชนาลัย บนที่ราบเชิงเขาด้านทิศใต้ของเขาพนมเพลิง โบราณสถานที่สำคัญคือ เจดีย์ประธานทรงลังกา ตั้งอยู่บนฐานประทักษิณรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ภายในกำแพงแก้วสี่เหลี่ยมจัตุรัส ที่ฐานเจดีย์มีช้างปูนปั้นยืนหันหลังชนผนังเจดีย์อยู่โดยรอบ จำนวน ๓๙ เชือก และช้างที่อยู่ตามมุมเจดีย์ทั้ง ๔ ทิศ ตกแต่งเป็นช้างทรงเครื่องมีลวดลายปูนปั้นประดับที่คอ ต้นขา และข้อเท้า ทางด้านหน้าเจดีย์ประธานมีบันไดขึ้นสู่ลานประทักษิณ เหนือฐานประทักษิณมีซุ้มพระพุทธรูปประทับนั่งปางมารวิชัย ผนังซุ้มมีประติมากรรมรูปต้นโพธิ์อยู่เบื้องหลังพระพุทธรูปแต่พระพุทธรูปได้ถูกทำลายไปคงเหลือเพียงองค์เดียวทางด้านทิศเหนือ บริเวณองค์ระฆังขึ้นไปเป็นบัลลังก์ ก้านฉัตรประดับด้วยรูปพระสาวกปูนปั้นลีลานูนต่ำจำนวน ๑๗ องค์ มีวิหารอยู่ด้านหน้าเจดีย์ประธาน นอกจากนั้นเป็นวิหารขนาดเล็ก ๆ๒ หลัง และเจดีย์ราย ๒ องค์วัดช้างล้อมที่เมืองศรีสัชนาลัยนี้ ช้างจะมีลักษณะที่เด่นกว่าช้างปูนปั้นที่วัดอื่น ๆ คือ ยืนเต็มตัวแยกออกจากผนังมีขนาดสูงใหญ่กว่าช้างจริง และด้านหน้ามีพุ่มดอกบัวปูนปั้นประดับไว้วัดเจดีย์เจ็ดแถว ตั้งอยู่ด้านหน้าวัดช้างล้อม นับว่ามีความสวยงามมากกว่าวัดอื่นในเมืองสุโขทัย เพราะมีเจดีย์แบบต่าง ๆ กันมากมายที่เป็นศิลปะสุโขทัยแท้ และเป็นศิลปะแบบศรีวิชัยผสมสุโขทัย โบราณสถานที่สำคัญคือ เจดีย์ประธานรูปดอกบัวตูมอยู่ด้านหลังพระวิหาร และมีเจดีย์รายรวมทั้งอาคารขนาดเล็กแบบต่าง ๆ จำนวน ๓๓ องค์ มีกำแพงแก้วล้อมรอบอีกชั้นหนึ่ง นอกกำแพงมีโบสถ์ และบ่อน้ำ เจดีย์รายที่วัดเจดีย์เจ็ดแถวมีรูปแบบที่ได้รับอิทธิพลศิลปะจากที่ต่าง ๆ หลายแห่ง เช่น ลังกา และพุกาม ด้านหลังเจดีย์ประธานมีเจดีย์รายที่มีลักษณะเด่น คือ ฐานเป็นเจดีย์สี่เหลี่ยมจัตุรัส ยอดเป็นทรงกลม ภายในเจดีย์มีซุ้มโถง ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปยืนปูนปั้น มีภาพจิตรกรรมเป็นภาพอดีตพระพุทธเจ้า และเหล่าเทวดากษัตริย์ ส่วนซุ้มจระนำด้านหลังของเรือนธาตุทำเป็นพระพุทธรูปนาคปรก สาเหตุที่เรียกว่า วัดเจดีย์เจ็ดแถวเนื่องจากได้พบเจดีย์จำนวนมากหลายแถวภายในวัด และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่าวัดเจดีย์เจ็ดแถวเป็นที่ประดิษฐานพระอัฐิของพระราชวงศ์สุโขทัยวัดสวนแก้วอุทยานใหญ่ ตั้งอยู่ภายในกำแพงเมือง ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากวัดเจดีย์เจ็ดแถวนัก โบราณสถานที่สำคัญคือ เจดีย์ประธานทรงกลม ก่อด้วยศิลาแลง องค์ระฆังได้พังทลายลง ด้านหน้ามีบันไดขึ้นไปจากมุขหลังของวิหารถึงเรือนธาตุเพื่อสักการะพระพุทธรูป เจดีย์ประธานมีวิหาร และมุขด้านหน้า ส่วนด้านหลัง มีบันไดขึ้น ๕ ทาง เสาวิหาร และกำแพงวัดก่อด้วยศิลาแลงวัดสวนแก้วอุทยานน้อย หรือ วัดสระแก้ว อยู่ห่างจากวัดช้างล้อม ๒๐๐ เมตร กลุ่มโบราณสถานมีกำแพงแก้วล้อมรอบ มีประตูทางเข้าด้านหน้า และด้านหลังวัด มีโบราณสถานประกอบด้วยเจดีย์ประธานเป็นเจดีย์ทรงดอกบัวตูมล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว วิหารมีซุ้มพระตั้งอยู่ด้านหลังลักษณะเป็นมณฑป หลังคามณฑปเป็นรูปโค้งแหลม ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปประทับนั่งปางมารวิชัยวัดนางพญา ตั้งอยู่แนวเดียวกันกับวัดสวนแก้วอุทยานใหญ่ มีลวดลายปูนปั้นงดงามมาก ปรากฏอยู่บนซากผนังวิหารด้านตะวันตกเฉียงเหนือซึ่งเป็นวิหารขนาดเจ็ดห้อง เสาวิหารทุกด้านมีเทพนม และลวดลายต่าง ๆ ทำด้วยสังคโลกไม่เคลือบ เจดีย์ประธานของวัดเป็นเจดีย์ทรงกลมตั้งอยู่บนฐานประทักษิณ ซุ้มด้านหน้ามีบันไดทางขึ้นจนถึงโถงเจดีย์ตรงกลางโถงมีแกนเจดีย์ประดับด้วยลวดลายปูนปั้น วิหารก่อด้วยศิลาแลงมีมุขหน้า และมุขหลัง ผนังวิหารเจาะช่องแสงผนังด้านใต้มีลวดลายปูนปั้น ลักษณะเด่นก็คือ ลวดลายปูนปั้นทำเป็นกึ่งมนุษย์กึ่งวานรกำลังวิ่ง แต่ถูกทำลายไปบางส่วน นอกจากนั้นยังทำเป็นลวดลายพรรณพฤกษา และรูปเทพนมเป็นศิลปะสมัยอยุธยาตอนต้นวัดชมชื่น ตั้งอยู่ริมแม่น้ำยม ห่างจากวัดพระศรีรัตนมหาธาตุมาทางทิศตะวันออกประมาณ ๔๐๐ เมตร โบราณสถานที่สำคัญคือ เจดีย์ประธานทรงกลมก่อด้วยศิลาแลง วิหารอยู่ด้านหน้าเจดีย์ประธานก่อด้วยศิลาแลงขนาด ๖ ห้อง มีมุขยื่นออกมาด้านหน้า ด้านหลังพระวิหารเชื่อมต่อกับมณฑป คล้ายเป็นห้องทึบอยู่ท้ายวิหาร หลังคาใช้ศิลาแลงก่อเหลื่อมเข้าหากันเป็นรูปจั่วแหลม ด้านหน้าทั้งสองข้างมณฑปทำเป็นซุ้มจระนำ ๒ ซุ้ม ด้านหลังมีซุ้มจระนำเดิมประดิษฐานพระพุทธรูปนาคปรก แต่ปัจจุบันได้สูญหายไปแล้ว นอกจากนี้ยังมีลวดลายปูนปั้นที่หน้าบันด้านหลังมณฑปจากการขุดค้นบริเวณด้านหน้าพระวิหารพบหลักฐานโครงกระดูกมนุษย์ จำนวน ๑๕ โครง ในระดับความลึก๗-๘ เมตร อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๙ ถึงสมัยทวารวดี ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๖ และได้พบกลุ่มโบราณสถานก่อด้วยอิฐที่มีขนาดใหญ่ และพบเครื่องถ้วยเชลียงจำนวนมาก ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๗ จนถึงสมัยสุโขทัยอุทยานฯ เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐-๑๗.๐๐ น. อัตราค่าเข้าชม ชาวไทย ๑๐ บาทชาวต่างประเทศ ๔๐ บาท หรือสามารถซื้อตั๋วรวมได้ ชาวไทย ๓๐ บาท ชาวต่างประเทศ ๑๕๐ บาท ในกรณีที่นำยานพาหนะเข้าภายในเขตอุทยานฯ เสียค่าธรรมเนียม ราคา ๑๐-๕๐ บาท และทางอุทยานฯ มีบริการรถรางนำชมโบราณสถานทั่วบริเวณ ชาวไทย ๑๐ บาท ชาวต่างประเทศ ๓๐ บาท หากนักท่องเที่ยวต้องการขอวิทยากรนำชม ติดต่อได้ที่อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ๖๔๑๓๐ โทร. ๐ ๕๕๖๗ ๙๒๑๑การเดินทางรถยนต์ จากตัวเมืองสุโขทัย ใช้ทางหลวงหมายเลข ๑๐๑ เส้นสุโขทัย-สวรรคโลก-ศรีสัชนาลัยไปจนถึงระหว่างกิโลเมตรที่ ๑๘-๑๙ เลี้ยวซ้ายข้ามสะพานแม่น้ำยม จะมีทางแยกขวาเข้าอุทยานฯ ไป ประมาณ ๑.๕ กิโลเมตร เป็นระยะทาง ๖๘ กิโลเมตร หรือ รถโดยสารประจำทาง มีรถสายสุโขทัย-ศรีสัชนาลัย ออกจากท่ารถที่ตลาดเทศบาลไปอุทยานฯ ทุกวัน นอกจากนี้นักท่องเที่ยวสามารถใช้เส้นทางจากอำเภอสวรรคโลกไปตามทางหลวงหมายเลข ๑๒๐๑ ไปจนถึงตำบลเมืองเก่า บริเวณเชิงสะพานข้ามแม่น้ำยมแล้วเลี้ยวซ้ายเข้าอุทยานฯ อีก ๒ กิโลเมตร รวมระยะทาง ๒๒ กิโลเมตรศูนย์ศึกษาและอนุรักษ์เตาสังคโลก (เตาทุเรียง) ตั้งอยู่ที่บ้านเกาะน้อย ห่างจากตัวเมืองเก่าศรีสัชนาลัยเลียบแม่น้ำยมไปทางเหนือประมาณ ๖.๕ กิโลเมตร ขุดพบเตาเผาเครื่องถ้วยสังคโลกแล้วกว่า ๕๐๐ เตา ในระยะทางยาวประมาณ๑ กิโลเมตร ถือได้ว่าเป็นนิคมอุตสาหกรรมของเมืองศรีสัชนาลัย มีการขุดพบเครื่องสังคโลกทั้งในสภาพสมบูรณ์และแตกหักเป็นจำนวนมาก ลักษณะเตาเผาจะเป็นรูปยาวรีคล้ายประทุนเรือจ้าง ยาวประมาณ ๗-๘ เมตรศูนย์ศึกษาฯ ประกอบด้วยอาคาร ๒ หลัง ตัวอาคารสร้างครอบเตา อาคารแรก คือ เตาที่ ๔๒ เป็นเตาบนดินอาคารที่สอง คือ เตาที่ ๖๑ เป็นเตาใต้ดิน ภายในตัวอาคารจัดแสดงโบราณวัตถุ เอกสารทางวิชาการ ตลอดจนวิวัฒนาการเครื่องถ้วยสมัยโบราณ ศูนย์ศึกษาฯ เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมทุกวัน เวลา ๐๙.๐๐-๑๖.๐๐ น. อัตราค่าเข้าชม ชาวไทย ๑๐ บาท ชาวต่างประเทศ ๓๐ บาทการเดินทาง จากบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยไปทางทิศเหนือ ทางประตูเตาหม้อไปถึงบ้านเกาะน้อยประมาณ ๖.๕ กิโลเมตร จะเห็นซากเตาเผาโบราณเรียงรายอยู่โดยทั่วไป หรือจะเดินทางจากตัวอำเภอศรีสัชนาลัย ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข ๑๒๐๑ ประมาณ ๗ กิโลเมตร มาที่บ้านเกาะน้อย จะเห็นอาคารศูนย์ฯ อยู่ทางซ้ายมืออุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย เดิมชื่อ ป่าคา หมายถึงป่าคาหลวง ตั้งอยู่ที่บ้านป่าคา หมู่ที่ ๖ ตำบลบ้านแก่ง จัดตั้ง ขึ้นตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ เพื่อรักษาสภาพป่าที่เป็นป่าต้นน้ำลำธารและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติไว้ อุทยานฯ แห่งนี้ครอบคลุมพื้นที่อำเภอศรีสัชนาลัย อำเภอทุ่งเสลี่ยม และอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง มีพื้นที่ทั้งสิ้น ๓๑๙ ตารางกิโลเมตร สภาพพื้นที่มีลักษณะเป็นทุ่งหญ้าคาขนาดใหญ่ เป็นต้นน้ำของแม่น้ำท่าแพ สภาพพื้นที่โดยทั่วไปมีลักษณะสัณฐานเป็นเทือกเขา ประกอบด้วยป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดงดิบเขา สัตว์ป่าที่พบได้แก่ กระแต เสือไฟ อีเห็นข้างลาย เลียงผา และเต่าปูลู เป็นต้น ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย เมื่อวันที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๒๔สถานที่น่าสนใจภายในบริเวณอุทยานฯ ได้แก่น้ำตกตาดเดือน ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ ๓๐๐ เมตร เป็นน้ำตกที่เกิดจากลำห้วยแม่ท่าแพ เป็นลานหินกว้าง และแอ่งน้ำเหมาะสำหรับการพักผ่อนหย่อนใจถ้ำค้างคาว ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ ๒๐ กิโลเมตร เป็นถ้ำขนาดใหญ่ที่มีหินงอกและหินย้อยสวยงาม เป็นที่อยู่ของค้างคาวนับแสนตัวถ้ำธาราวสันต์ ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ ๑.๕ กิโลเมตร ภายในถ้ำมีหินงอก หินย้อย โดยรอบถ้ำจะพบกับพรรณไม้และสัตว์ป่า เช่น จันทน์ผา และเลียงผาน้ำตกห้วยทรายขาว ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ ๓ กิโลเมตร เกิดจากลำห้วยทรายขาวไหลผ่านหน้าผาหินลงสู่แอ่งน้ำขนาดเล็ก ตัวน้ำตกมี ๗ ชั้น ลดหลั่นกันไป น้ำตกห้วยทรายขาวนี้อยู่ใจกลางขุนเขา และโดยรอบมีต้นไม้นานาพันธุ์น้ำตกตาดดาว ต้นน้ำเกิดจากลำห้วยแม่ท่าแพ เป็นน้ำตกขนาดใหญ่มีความสวย ตัวน้ำตกไหลลงมาจากหน้าผาที่กว้างและสูงชัน มี ๒ สาย สูงประมาณ ๕๐ เมตร ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ด้วยการเดินเท้าประมาณ ๔ กิโลเมตรถ้ำค้างคาว ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ ๒๐ กิโลเมตร เป็นถ้ำขนาดใหญ่ที่มีหินงอก หินย้อยสวยงามและเป็นที่อยู่ของค้างคาวนับแสนตัวนอกจากนั้นทางอุทยานฯ ได้จัดทำ เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ ไว้ ๒ เส้นทาง คือ ๑. เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติชมตะวัน เป็นเส้นทางที่อยู่บนไหล่เขา มีความลาดชันปานกลาง ผ่านร่องน้ำในบางช่วง ตลอดเส้นทางเป็นป่าเบญจพรรณ นักท่องเที่ยวสามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์ของอุทยานฯ และระหว่างเส้นทางสามารถชมพระอาทิตย์ขึ้นในตอนเช้าได้ เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาตินี้มีทั้งหมด ๑๔ สถานี แต่ละสถานีทางอุทยานฯ ได้จัดทำป้ายสื่อความหมายต่าง ๆ ไว้เป็นระยะ ๆ ใช้เวลาในการเดิน ๒-๓ ชั่วโมง ระยะทางไป-กลับรวม ๕,๕๐๐ เมตร ๒. เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติห้วยแม่ท่าแพ เป็นเส้นทางที่ต้องเดินวนกลับ ระหว่างทางเดินสามารถพบกับสัตว์ต่าง ๆ เช่น ผีเสื้อ เก้ง หมูป่า และกระรอก ลักษณะของป่าเป็นป่าดงดิบแล้งผสมกับป่าเบญจพรรณ ใช้เวลาในการเดินทาง ๑ ชั่วโมง เป็นระยะทาง ๒ กิโลเมตรอัตราค่าเข้าอุทยานฯ ชาวไทย เด็ก ๑๐ บาท ผู้ใหญ่ ๒๐ บาท ชาวต่างประเทศ เด็ก ๒๐๐ บาท ผู้ใหญ่ ๔๐๐ บาทสถานที่พัก อุทยานฯ มีบ้านพักไว้บริการนักท่องเที่ยว จำนวน ๖ หลัง พักได้ ๔-๑๐ คน ราคา ๖๐๐-๒,๐๐๐ บาท/คืน ถ้านำเต็นท์มาเอง เสียค่าพื้นที่ ๓๐ บาท/คน/คืน หรือ จะเช่าเต็นท์ของทางอุทยานฯ พักได้ ๒-๘ คน ราคา ๒๒๕ บาท สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่อุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย ตู้ ปณ. ๑๐ ตำบลบ้านแก่ง อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ๖๔๑๓๐ โทร. ๐ ๕๕๖๑ ๙๒๑๔-๕ หรือที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช บางเขน กรุงเทพฯ โทร. ๐ ๒๕๖๒ ๐๗๖๐ HYPERLINK "http://www.dnp.go.th" www.dnp.go.thการเดินทาง รถยนต์ จากจังหวัดสุโขทัยสามารถใช้เส้นทางได้ ๒ ทาง เส้นทางแรก จากตัวเมืองใช้ทางหลวงหมายเลข ๑๒ เส้นสุโขทัย-ตาก เลี่ยงเมืองไปประมาณ ๑๕ กิโลเมตร แล้วเลี้ยวขวาไปตามถนนหมายเลข ๑๑๑๓ มาถึงสี่แยกสารจิตรแล้วเลี้ยวซ้ายไปตามถนนหมายเลข ๑๒๙๔ เข้าสู่อุทยานฯ รวมระยะทางประมาณ ๑๐๐ กิโลเมตร เส้นทางที่สองจากตัวเมืองใช้ทางหลวงหมายเลข ๑๐๑ เส้นสุโขทัย-ศรีสัชนาลัย ถึงอำเภอศรีสัชนาลัยให้เลี้ยวซ้ายผ่านหน้าโรงพยาบาลศรีสัชนาลัย ทางหลวงหมายเลข ๑๐๓๕ ระยะทางประมาณ ๑๑ กิโลเมตร แล้วเลี้ยวขวาเข้าเส้นทางหลวงหมายเลข ๑๒๔๙ เข้าสู่อุทยานฯ รวมระยะทางประมาณ ๑๒๒ กิโลเมตรรถโดยสารประจำทาง มีรถสองแถวจากฝั่งตรงข้ามสถานีตำรวจภูธรอำเภอศรีสัชนาลัย ออกก่อนเที่ยงวันละ๑ เที่ยว ใช้เวลาเดินทาง ๕๐ นาทีอำเภอทุ่งเสลี่ยมหลวงพ่อศิลา แต่เดิมประดิษฐานอยู่ในถ้ำเจ้าราม กลางป่าลึกในเขตติดต่ออำเภอบ้านด่านลานหอย ต่อมาชาวอำเภอทุ่งเสลี่ยมได้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่วัดทุ่งเสลี่ยม เมื่อราวปี พ. ศ. ๒๔๗๒-๒๔๗๕ ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๒๐ มีคนร้ายขโมยหลวงพ่อศิลาไป และได้มีการนำไปประมูลขายที่ประเทศอังกฤษ แต่ภายหลังก็สามารถติดตามกลับคืนมาได้ และนำมาประดิษฐานยังวัดทุ่งเสลี่ยมตามเดิมวัดพิพัฒน์มงคล เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปทองคำ หรือพระพุทธสุโขโพธิ์ทอง หล่อด้วยทองคำหนัก๙ กิโลกรัม ปางมารวิชัย สร้างด้วยศิลปะสมัยสุโขทัยที่มีความงดงามอำเภอบ้านด่านลานหอยถ้ำเจ้าราม ตั้งอยู่ตำบลวังน้ำขาว เดิมชื่อ “ถ้ำพระราม” ได้ปรากฏอยู่ในหลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ต่อมาชาวบ้านเรียกเพี้ยนเป็น “ถ้ำเจ้าราม” จากหลักฐานและคำบอกเล่าถ้ำเจ้ารามน่าจะมีความเกี่ยวข้องกับพ่อขุนรามคำแหงฯ คือ เป็นที่พักผ่อนของพ่อขุนรามคำแหงฯ เพราะบริเวณถ้ำมีธรรมชาติที่สวยงาม และเป็นที่หลบภัยจากข้าศึกศัตรู เพราะในบริเวณถ้ำเป็นที่โล่งกว้างด้านบนมีปล่องแสงพระอาทิตย์ส่องลงมาได้ และยังมีแผ่นศิลาจารึกเป็นภาษาสุโขทัยปรากฏอยู่ในถ้ำ ถ้ำเจ้ารามเป็นที่อยู่อาศัยของค้างคาวกินแมลงหลายชนิดที่สำคัญ คือ ค้างคาวปากย่น จะออกมาหากินในตอนเย็นโดยบินต่อกันเป็นทิวสาย สวยงามน่าประทับใจแก่ผู้พบเห็นการเดินทางไปถ้ำเจ้าราม สามารถเดินทางโดยรถยนต์ถึงบริเวณหน้าถ้ำ ระยะทางจากอำเภอบ้านด่านลานหอยถึงถ้ำเจ้าราม ประมาณ ๓๐ กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ ๔๕ นาที หากเดินทางจากจังหวัดสุโขทัยไปตามถนนสายสุโขทัย-ทุ่งเสลี่ยม ระยะทาง ๖๗ กิโลเมตร แล้วเดินทางต่อถนนลูกรัง รพช. สายทุ่งเสลี่ยม-บ้านด่านลานหอย ๑๙ กิโลเมตร ถึงที่ทำการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าถ้ำเจ้าราม รวมระยะทาง ๘๖ กิโลเมตร สำหรับผู้ที่ต้องการเข้าชมภายในถ้ำ ควรมีเสื้อผลัดเปลี่ยน เพราะภายในถ้ำมีมูลค้างคาวจำนวนมากอาจฟุ้งกระจายติดตัวและควรมีไฟฉายไปด้วย โทร ๐ ๕๕๕๑ ๑๑๔๒ หรือ ๐ ๕๕๖๘ ๙๐๒๔ข้อแนะนำในการเข้าชมโบราณสถาน- ศึกษาข้อมูลรายละเอียดสถานที่ต่าง ๆ ก่อนไป ติดต่อวิทยากรผู้ให้ความรู้ เช่น พระ ชาวบ้านในท้องถิ่นและเจ้าหน้าที่ผู้ดูแล- แต่งกายสุภาพ สำรวมกิริยาวาจา ถอดรองเท้าและเก็บให้เรียบร้อยก่อนเข้าโบสถ์และเขตศาสนสถาน- ระวังไม่ทำให้โบราณวัตถุ/โบราณสถาน แตกหักเสียหาย เดินตามทางที่อนุญาต ไม่จับ สัมผัส อาคารโบราณสถานโดยเฉพาะส่วนที่เป็นลวดลายแกะสลักหรือภาพเขียนสี ไม่ลักลอบขุดค้นโบราณวัตถุและโบราณสถาน- การถ่ายภาพไม่ควรใช้แฟลช เพราะอาจทำให้โบราณวัตถุ/โบราณสถานเสียหายได้ข้อแนะนำในการท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติเดินป่า- สอบถามข้อมูลของสถานที่ที่จะไป เพื่อจะได้เตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้พร้อม- เตรียมอุปกรณ์เดินป่าที่คล่องตัวและจำเป็น เช่น ถุงนอน เต็นท์ ผ้ายางกันฝน ยารักษาโรค ไฟฉาย มีดพกยาไล่แมลง และเข็มทิศ- ศึกษาฤดูกาลของธรรมชาติ เช่น ดอกไม้ นกอพยพ เตรียมกล้องส่องทางไกล สมุดบันทึก ดินสอ ปากกาและแผนที่- ศึกษาเส้นทางตรวจดูแผนที่ก่อนออกเดินทาง เลือกเส้นทางเดินตามสันเขาจะเดินง่ายกว่าเดินตามหุบเขาและปฎิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่อย่างเคร่งครัดแคมปิง- เตรียมเต็นท์ ถุงนอน ผ้าใบกันฝน ผ้าใบ หมวก รองเท้า อุปกรณ์เครื่องครัว เช่น หม้อสนาม เตาแก๊ส เตาน้ำมันอาหารแห้ง และน้ำดื่ม- ตรวจสอบทิศทางลมก่อนกางเต็นท์และกางเต็นท์ต้นลม ส่วนกองไฟและห้องสุขาต้องอยู่ใต้ลม และกางเต็นท์บนเนินหรือที่สูงหรืออยู่ในที่โล่งริมห้วย- กวาดเศษหญ้าใบไม้ก่อนตั้งแค้มป์เพราะอาจเป็นที่อยู่ของแมลง และสัตว์เลื้อยคลานต่าง ๆ- หาเชื้อฟืนจากเศษไม้ในป่าหรือที่คลื่นซัดมาติดหาด และดับกองไฟก่อนเข้านอน- ดูแลความสะอาดทุกครั้งที่เก็บแคมป์ให้เหมือนสภาพเดิมเทศกาลงานประเพณีงานวันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช จัดวันที่ ๑๕-๑๗ มกราคมของทุกปี ณ บริเวณพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย เพื่อเป็นการรำลึกและเผยแพร่พระเกียรติคุณให้ขจรขจายไปทั่ว ในงานดังกล่าวจะมีการทำบุญตักบาตร และพิธีทางศาสนา ขบวนสักการะพ่อขุนฯ การบวงสรวง การเล่นพลุ ตลอดจนนาฏศิลป์ มหรสพต่าง ๆ ทั้งกลางวัน และกลางคืน อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย โทร ๐ ๕๕๖๙ ๗๓๑๐ประเพณีบวชพระแห่นาคด้วยช้างของชาวหาดเสี้ยว หรือชาวบ้านเรียกว่า “บวชช้าง” เป็นงานประเพณีอุปสมบทของชาวไทยพวน บ้านหาดเสี้ยว อำเภอศรีสัชนาลัย จัดงานวันที่ ๗-๘ เมษายนของทุกปี วันที่ ๗ ซึ่งเป็นวันแห่นาคถือเป็นวันสำคัญของงาน วันที่ ๘ เป็นวันอุปสมบทซึ่งเป็นการอุปสมบทหมู่ แห่ด้วยขบวนช้างประมาณ ๒๐-๓๐ เชือก การจัดงานมีตั้งแต่พิธีโกนหัว อาบน้ำนาค การแต่งตัวนาค และช้างอย่างสวยงาม และมีขบวนแห่รอบหมู่บ้าน ที่ว่าการอำเภอศรีสัชนาลัย โทร ๐ ๕๕๖๗ ๑๔๖๖งานประเพณีสรงน้ำโอยทาน สงกรานต์ศรีสัชนาลัย จัดขึ้นในวันสงกรานต์ระหว่างวันที่ ๑๐-๑๒ เมษายนของทุกปี ณ อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย เพื่อเป็นการสืบทอดงานประเพณีที่เก่าแก่ของสุโขทัย ดังหลักฐานที่ปรากฏในหลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ที่ว่า “คนสุโขทัยนี้มักทาน มักทรงศีล มักโอยทาน” ภายในงานประกอบด้วย ขบวนแห่ช้าง พิธีบวงสรวงพระเสื้อเมือง และกษัตริย์ในราชวงศ์พระร่วง ขบวนรถบุปผาชาติ เทพีสงกรานต์ แข่งขันกีฬาพื้นบ้าน และการแสดงศิลปะพื้นบ้านงานประเพณีแห่น้ำขึ้นโฮง กำหนดจัดงานในวันที่ ๑๘-๑๙ เมษายนของทุกปี ณ บริเวณลานอนุสาวรีย์เจ้าพ่อเมืองด้ง ตำบลบ้านตึก อำเภอศรีสัชนาลัย การจัดงานจัดขึ้นเพื่อเป็นการยกย่องเชิดชู “หมื่นนคร” หรือ “เจ้าพ่อเมืองด้ง” ผู้สร้างเมืองด้ง มีความเก่งกล้าทางด้านการสู้รบ เชี่ยวชาญในการจับช้าง และใช้ช้างศึก ภายหลังต้องยอมรับโทษประหารเพื่อแสดงความซื่อสัตย์ และจงรักภักดีต่อพระเจ้าติโลกราช เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๐๑๒ ต่อมาชาวบ้านได้จัดพิธีบวงสรวงเจ้าพ่อเมืองด้งด้วยการจัดขบวนช้างที่ตกแต่งอย่างสวยงามกว่า ๕๐ เชือก ผ่านหมู่บ้านไปไหว้ศาลเจ้าพ่อข้าวมุ้ง และไปลานอนุสรณ์เจ้าพ่อเมืองด้ง เพื่อทำพิธีบวงสรวง สักการะ “เจ้าพ่อเมืองด้ง” องค์การบริหารส่วนตำบล บ้านตึก โทร ๐ ๕๕๖๗ ๗๒๐๐งานลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ เป็นงานประเพณีที่จังหวัดจัดขึ้นในวันเพ็ญเดือนสิบสองของทุกปี ณ บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย โดยมีวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒ ของทุกปีเป็นวันสุดท้ายของงาน ภายในงานประกอบด้วยการลอยกระทงจุดประทีปโคมไฟ จุดตะไลไฟพะเนียง การละเล่นพื้นบ้าน ขบวนแห่ต่าง ๆ และระบำโบราณคดีชุดสุโขทัย ที่แสดงออกถึงวิถีชีวิตของชาวสุโขทัยตามศิลาจารึก ในบรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมของโบราณสถานบริเวณเมืองเก่าสุโขทัย นอกจากนี้ยังมีการแสดงแสงเสียงประวัติศาสตร์อันรุ่งเรืองของอาณาจักรสุโขทัยงานวันพิชิตยอดเขาหลวง เป็นงานประจำปีที่จังหวัดสุโขทัยจัดให้นักท่องเที่ยว และประชาชนทั่วไป ได้เดินทางขึ้นสู่ยอดเขาหลวง ในอุทยานแห่งชาติรามคำแหง อำเภอคีรีมาศ จัดขึ้นประมาณเดือนพฤศจิกายนของทุกปี ผู้สนใจสอบถาม รายละเอียดได้ที่อุทยานแห่งชาติรามคำแหง โทร. ๐ ๕๕๖๑ ๙๒๐๐-๑ หรือสำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสุโขทัย โทร. ๐ ๕๕๖๑ ๒๒๘๖งานสักการะพระแม่ย่าและงานกาชาดจังหวัดสุโขทัย จัดขึ้นต้นเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี ณ บริเวณรอบศาลากลางจังหวัดสุโขทัย ถนนนิรเกษม ตำบลธานี ในงานดังกล่าวมีขบวนแห่พิธีสักการะพระแม่ย่า การแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน นิทรรศการ การแสดงศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน และการแสดงมหรสพ โทร ๐ ๕๕๖๑ ๐๐๘๖งานประเพณีสงกรานต์และเทศกาลเมืองสวรรคโลก จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑๑ – ๑๕ เมษายนของทุกปี ณ บริเวณริมแม่น้ำยม หน้าวัดสว่างอารมณ์ กลางลำน้ำยม และบริเวณสนามกีฬาโรงเรียนเทศบาลเมืองสวรรคโลก ภายในมีขบวนแห่นางสงกรานต์ มีงานเทศกาลอาหารเมืองสวรรคโลก การทำบุญตักบาตรข้าวสารอาหารแห้ง และสรงน้ำพระกิจกรรมที่น่าสนใจกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรเส้นทางขี่จักรยานชมสวนเกษตร โดยใช้เส้นทางหลวงหมายเลข ๑๐๑ (สุโขทัย-แพร่) ถึงอำเภอสวรรคโลกเลี้ยวขวาบริเวณตำบลคลองกระจง เข้าไปประมาณ ๒ กิโลเมตร ถึงไร่บุญชอบ เอมอิ่ม โทร ๐๘ ๑๘๘๘ ๑๗๓๙ ขี่จักรยานชมและชิมผลไม้หลากชนิด ได้แก่ ส้มโอ กระท้อน ละมุด มะพร้าว มะเฟือง กล้วยชนิดต่างๆ และมะปรางไข่ไก่ เป็นผลไม้ที่มีชื่อเสียงของไร่บุญชอบ ซึ่งมีผลขนาดเท่าไข่ไก่ มีรสชาติหอมหวานและเนื้อเยอะ จากนั้นเดินทางไปตำบลบ้านตึก เลี้ยวขวาบริเวณตำบลหาดเสี้ยว เข้าทางหลวงหมายเลข ๑๐๒ (อำเภอศรีสัชนาลัย-อุตรดิตถ์) แล้วเลี้ยวซ้ายประมาณ ๓๐ กิโลเมตรเข้าสู่ ชุมชนตำบลบ้านตึก อำเภอศรีสัชนาลัย เป็นชุมชนเล็ก ๆ ที่อยู่ห่างไกลจากความวุ่นวาย สองข้างทางเต็มไปด้วยต้นไม้น้อยใหญ่ สลับกับทุ่งนาเขียวชอุ่ม และทิวเขาเรียวยาวดูเพลินตา ชมวิถีชีวิตที่มีเอกลักษณ์ดั้งเดิมของชาวสวนผลไม้ เป็นสวนผลไม้ที่ปลูกตามเนินเขา เช่น ลองกอง ลางสาด มังคุด ทุเรียน กล้วย ส้มโอ มะไฟ และเงาะ ติดต่อเกษตรอำเภอศรีสัชนาลัย โทร ๐ ๕๕๖๗ ๑๐๓๖ หรือ ผู้ใหญ่เสน่ห์ เมืองมูล โทร ๐๘ ๑๓๙๕ ๗๑๘๓กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและกึ่งผจญภัยเส้นทางจักรยานท่องเที่ยวเมืองเก่าจังหวัดสุโขทัย กิจกรรมขี่จักรยานชมโบราณสถานภายในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ซึ่งมีร้านให้บริการเช่ารถจักรยานหน้าบริเวณอุทยานฯ ติดต่อ ศูนย์บริการข้อมูลนักท่องเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย โทร ๐ ๕๕๖๙ ๗๒๔๑สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึกขนมเกลียว เป็นของฝากประเภทขบเคี้ยวที่ขึ้นชื่อของจังหวัดสุโขทัย ทำจากแป้งหมี่ผสมไข่ ปรุงรสด้วยพริกไทย เกลือ เคล้าให้เข้ากันก่อนจะนำมาปั้นเป็นเกลียว ทอดจนหอมกรอบ แล้วนำมาคลุกน้ำตาล มีรสหวาน หาซื้อได้ตามร้านขายของฝากทั่วไป หรือสามารถติดต่อซื้อโดยตรงที่ ร้านครูแอ๊ว ถนนศรีอินทราทิตย์ โทร. ๐ ๕๕๖๑ ๒๐๓๗ ร้านสุคนธา ถนนจรดวิถีถ่อง โทร. ๐ ๕๕๖๑ ๒๑๑๒เครื่องสังคโลก เป็นเครื่องสังคโลกที่ทำเลียนแบบของเดิมได้เหมือนจริง และสวยงามเครื่องปั้นดินเผาทุ่งหลวง อำเภอคีรีมาศ เป็นงานดินเผาที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เช่น กระถางต้นไม้ แจกัน อ่าง โอ่งน้ำ โคมไฟ และมีลายฉลุรูปสัตว์ตัวเล็กตัวน้อย เช่น กบ อึ่งอ่าง และสุนัขกล้วยอบเนย เป็นของฝากของอำเภอคีรีมาศ คล้ายกับขนมรังนกซึ่งใช้มันเทศแต่ดัดแปลงมาใช้กล้วยแทน ทำมาจากกล้วยน้ำว้าดิบปอกเปลือกซอยขวางเป็นชิ้นบาง ๆ ผึ่งลมไว้ครึ่งวันก่อนจะนำไปปรุงรสด้วยเกลือนำไปทอดในน้ำมันร้อน ผสมน้ำตาลลงไปกวนแล้วนำมาโรยงาขาว และเนย นักท่องเที่ยวสามารถซื้อได้จากร้านขายของที่ระลึกทั่วไปขนมผิง ทองม้วน ทองพับ และทองตัน เป็นของฝากที่มีรสชาติอร่อยและกรอบ ลักษณะต่าง ๆ กัน เช่น พับเป็นแผ่นสี่เหลี่ยม ม้วนกลม และม้วนแน่นทึบ หาซื้อได้จากตลาดบ้านกง อำเภอกงไกรลาศ หรือ ร้านขายของฝากของที่ระลึกในจังหวัดสุโขทัยถั่วทอด เป็นของฝากที่ขึ้นชื่อของอำเภอศรีสำโรง จนมีคนขนานนามว่า “ถั่วทอดสองร้อยปี” เนื่องจากมีการ ถ่ายทอดสูตรดั้งเดิมจากรุ่นปู่ย่ามาสู่รุ่นหลาน ทำจากแป้งข้าวเจ้า แป้งหมี่ ไข่ กะทิ เกลือ พริกไทย และกลอยหั่น นำส่วนผสมทั้งหมดเคล้าให้เข้ากัน แล้วนำไปทอดจนเหลืองกรอบ สามารถสั่งซื้อได้โดยตรงที่ร้านลอนศิลป ถนนสิริสมาลังค์อำเภอศรีสำโรง โทร. ๐ ๕๕๖๘ ๑๔๔๓ และร้านถั่วทอดในอำเภอศรีสำโรงทองโบราณ เป็นสินค้าที่ระลึกที่มีชื่อเสียง และมีคุณค่าสูงทางด้านวัตถุ ฝีมือช่างทองของคนท้องถิ่นในอำเภอศรีสัชนาลัย ที่ไม่ได้ใช้เครื่องจักรใด ๆ ช่วย ทำเลียนแบบเครื่องประดับสุโขทัยโบราณ เช่น สร้อยคอ สร้อยข้อมือ กำไล ต่างหู และแหวน เป็นต้น หาชมได้ตามร้านทองในอำเภอศรีสัชนาลัยเงินโบราณ เป็นงานฝีมือแท้ ๆ ที่ใช้ความประณีตในแต่ละขั้นตอน ทำเลียนแบบเครื่องทองโบราณ หาชมได้ตามร้านเครื่องเงินในอำเภอศรีสัชนาลัยผ้าหาดเสี้ยว ในอำเภอศรีสัชนาลัย เป็นผ้าซิ่นตีนจกที่งดงามหลากหลายสี มีลายจก ๙ ลาย เปี่ยมไปด้วยคุณภาพ เป็นฝีมือของชาวไทยพวนที่อพยพมาจากเมืองพวน ทางตอนเหนือของเมืองเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวผลิตภัณฑ์หินอ่อน เป็นสินค้าที่ระลึกของอำเภอทุ่งเสลี่ยม-เถิน มีสินค้าประเภท โต๊ะ เก้าอี้ แจกัน กระถางต้นไม้ และนาฬิกาตั้งโต๊ะไก่ชน ที่ซุ้มไก่ ไชยพิชิต ๙๙ หมู่ ๗ ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง ชมวิธีการเลี้ยงไก่ชน สาธิตการชนไก่ และให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะนิสัยของไก่ชน ติดต่อ โทร. ๐ ๕๕๖๓ ๓๓๔๔, ๐๘ ๖๕๓๙ ๑๘๗๕ และ ๐๘ ๙๒๐๔ ๑๒๖๔ร้านจำหน่ายสินค้าที่ระลึกอำเภอเมืองสุโขทัยเครื่องปั้นดินเผาลุงแฟง ๓๑๑ หมู่ ๓ ต. เมืองเก่าครูแอ๊ว ๒๙/๘ ถ. ศรีอินทราทิตย์ ต. ธานี โทร. ๐ ๕๕๖๑ ๒๐๓๗ (จำหน่ายขนมเกลียว)บ้านลุงแฟง พรมเพชร์ ๓๑๑ หมู่ ๓ ต.เมืองเก่า ใกล้อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ผลิตเครื่องปั้นดินเผา (ใช้มือปั้น)เป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือนสหกรณ์บริการ หัตถกรรมผลิตภัณฑ์ไม้บ้านขวาง จำกัด ๑๔๙ หมู่ ๓ ต. บ้านกล้วย โทร. ๐ ๕๕๖๑ ๐๑๘๘, ๐๑๖๐๔ ๔๗๔๙ (จำหน่ายและรับสั่งทำเฟอร์นิเจอร์ไม้ เช่น ตู้โบราณ เตียง โต๊ะ เก้าอี้)อาณาจักรพ่อกู สังคโลก เลขที่ ๑/๒๙ หมู่ ๓ ต. เมืองเก่า ก่อนถึงอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ๒ กิโลเมตรผลิตเครื่องสังคโลกและเครื่องปั้นดินเผา มีรูปแบบและลวดลายที่สวย โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย โทร. ๐ ๕๕๖๙ ๗๓๘๐และ ๐ ๕๕๖๙ ๗๐๕๐อำเภอคีรีมาศบ้านทุ่งหลวง ตั้งอยู่ตามเส้นทางสายสุโขทัย-กำแพงเพชร ไปประมาณ ๑๕ กิโลเมตร จะมีทางแยกซ้ายเข้าบ้านทุ่งหลวง ซึ่งมีการปั้นหม้อดินเผาสืบต่อมาแต่โบราณ มีรูปทรง และลวดลายสวยงาม บางบ้านมีการปั้นตุ๊กตารูปสัตว์ต่าง ๆ กระถางต้นไม้ แจกัน อ่าง โอ่งน้ำ โคมไฟ และมีสินค้าไว้จำหน่ายแก่นักท่องเที่ยวด้วยแอ๋วซูเปอร์มาร์เก็ต ๑๘ หมู่ ๑๖ ถ. สุโขทัย-กำแพงเพชร ต. ตะโหนด โทร. ๐ ๕๕๖๙ ๓๕๐๔ ขายของฝากประเภทขบเคี้ยว และมีกล้วยอบเนยเป็นของที่ระลึกที่ขึ้นชื่ออำเภอสวรรคโลกปั้นสิบ แม่สมบูรณ์ ๖๕ ถ. ศรีสัชนาลัย (ตรงข้ามร้านลิ้มมักกี่) โทร. ๐ ๕๕๖๔ ๔๐๑๐อำเภอศรีสัชนาลัยกลุ่มชาวบ้านเกาะน้อย ผลิตและจำหน่ายเครื่องปั้นดินเผาจากฝีมือท้องถิ่นบ้านหาดเสี้ยว เป็นแหล่งจำหน่ายผ้าทอพื้นเมือง เช่น ผ้าซิ่นตีนจก ๙ ลาย ผ้าขาวม้า ผ้าคลุมต่าง ๆ ผ้าทอหาดเสี้ยวเป็นผ้าที่มีลวดลายสวยงาม และมีชื่อเสียงมาก เกือบทุกบ้านจะมีกี่ทอผ้าตั้งอยู่ และมีร้านจำหน่ายผ้าพื้นเมืองหลายร้านเริง ๔๐๖ ถ. สวรรคโลก-ศรีสัชนาลัย ต. หาดเสี้ยว (ติดกับร้านยอร์ชซ่า) โทร. ๐ ๕๕๖๗ ๑๑๒๙, ๐ ๕๕๖๗ ๒๙๕๕ จำหน่ายสินค้าพื้นเมือง ผ้าทอมือ และผ้าซิ่นตีนจกสาธร ๔๗๗ หมู่ ๒ ต. หาดเสี้ยว โทร./โทรสาร. ๐ ๕๕๖๗ ๑๑๔๓ ภายในร้านได้จัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์ ผ้าเก่าบ้านหาดเสี้ยว ที่จัดแสดงผ้าทองคำ และจำหน่ายผ้าตีนจกดิ้นเงิน ดิ้นทอง เครื่องแต่งตัวนาค ผ้าตีนจกลายดอกเคี๊ยะ และตีนจกบ้านน้ำปาด เปิดให้ชมฟรีทุกวัน ตั้งแต่เวลา ๐๗.๐๐-๑๘.๓๐ น.ร้านทำทองโบราณในอำเภอศรีสัชนาลัย มีหลายร้านเช่นลำตัดเงินโบราณ ผลิตเงินลายสุโขทัย และเครื่องประดับ ๑๓ ม. ๓ ต.ท่าชัย โทร. ๐ ๕๕๖๗ ๙๐๖๘,๐ ๕๕๖๓ ๑๕๘๙สมศักดิ์ วงศ์ใหญ่ จำหน่ายทองรูปพรรณ เงิน และเครื่องประดับทุกชนิด ๔ ม. ๓ ต. ศรีสัชนาลัย โทร. ๐ ๕๕๖๗ ๙๑๘๖-๗, ๐ ๕๕๖๓ ๑๓๖๒บ้านทองสมสมัย รับออกแบบลวดลาย และทำทองรูปพรรณ ๓๔๓/๑ ม. ๕ ต. ท่าชัย โทร. ๐ ๕๕๖๗ ๙๐๙๕,๐ ๕๕๖๗ ๙๐๕๕, ๐ ๕๕๖๗ ๙๐๙๗, ๐ ๕๕๖๓ ๑๖๐๓ โทรสาร ๐ ๕๕๖๓ ๑๖๐๔สุภาพร เป็นแหล่งจำหน่ายทองลายสุโขทัย และทองโบราณ ๓๐๗ ม. ๑๐ ต. ท่าชัย โทร. ๐ ๕๕๖๗ ๙๑๒๒โทรสาร ๐ ๕๕๖๗ ๙๑๒๓อำเภอศรีสำโรงถั่วทอดลอนศิลป ๔๑/๒ ม. ๗ ถ. สิริสมาลังค์ โทร. ๐ ๕๕๖๘ ๑๔๔๓อำเภอทุ่งเสลี่ยมโรงงานหินอ่อน มีสินค้าหินอ่อน เช่น โต๊ะ เก้าอี้ แจกัน นักท่องเที่ยวสามารถหาซื้อได้ตามเส้นทางสายทุ่งเสลี่ยมเถิน หรือที่ร้านหัตถกรรมหินอ่อนสุโขทัย ๒๐๑/๑ ม. ๒ ต. ทุ่งเสลี่ยม โทร. ๐ ๕๕๖๕ ๙๐๖๐, ๐ ๕๕๖๕ ๙๒๑๓,๐ ๙๗๐๓ ๕๓๕๗, ๐ ๑๒๘๐ ๑๐๕๐อำเภอกงไกรลาศกล้วยปาปริก้า กล้วยแปรรูปอบแห้ง เป็นสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ของกลุ่มสตรีแปรรูปเกษตรบ้านหนองตูม อำเภอกงไกรลาศ โทร. ๐ ๕๕๖๕ ๕๒๑๒, ๐๘ ๙๕๖๗ ๙๐๙๓ตัวอย่างโปรแกรมนำเที่ยววันที่หนึ่ง ๐๖.๐๐ น. - ออกเดินทางจากกรุงเทพฯ ผ่านจังหวัดนครสวรรค์ พักรับประทานอาหารกลางวันที่กำแพงเพชร และชมอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร๑๒.๐๐ น. - ออกเดินทางไปจังหวัดสุโขทัย๑๔.๐๐ น . - เดินทางถึงบ้านหาดเสี้ยว อ.ศรีสัชนาลัย ชมพิพิธภัณฑ์ผ้าเก่าบ้านหาดเสี้ยว และซื้อสินค้าที่ระลึก๑๕.๐๐ น . - ชมอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ชื่นชมกับสถาปัตยกรรมอันโดดเด่นของวัดช้างล้อมและวัดเจดีย์เจ็ดแถว จากนั้นประทับใจกับลวดลายปูนปั้นอันวิจิตรที่วัดนางพญา- ชมโครงกระดูกบรรพบุรุษสมัยทวาราวดีที่วัดชมชื่น ชมเตาทุเรียง และเครื่องสังคโลกเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย๑๖.๐๐ น. - เดินทางไปชมการทำทองโบราณที่ ต.ท่าชัย และ ต.ศรีสัชนาลัย ชมและสัมผัสกับงานถักทอของเก่าอันลือชื่อที่ถ่ายทอดถึงความละเอียดประณีตงดงามของศิลปหัตถกรรม๑๗.๐๐ น. - ออกเดินทางไปอำเภอเมืองสุโขทัย๑๘.๐๐ น. - รับประทานอาหารเย็นและพักผ่อนตามอัธยาศัยวันที่สอง ๐๖.๐๐ น. - รับประทานอาหารเช้า๐๗.๐๐ น. - ออกเดินทางไปอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย- สัมผัสบรรยากาศของรุ่งอรุณที่วัดมหาธาตุ และสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงท่ามกลางความอบอุ่นของแสงแดดยามเช้า๐๙.๐๐ น. - ถึงอุทยานเมืองตากเก่า อ.บ้านตาก จ.ตาก ชมเจดีย์ยุทธหัตถีที่สร้างขึ้นในสมัยสุโขทัยเพื่อเฉลิมพระเกียรติพ่อขุนรามคำแหงทรงชนช้างชนะขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด- นมัสการพระบรมธาตุ ณ วัดพระบรมธาตุ ซึ่งอยู่ใกล้กับเจดีย์ยุทธหัตถี๑๐.๐๐ น. - ออกเดินทางไปเขื่อนภูมิพล๑๑.๐๐ น. - รับประทานอาหารกลางวันบนเรือในบรรยากาศทะเลสาบเหนือเขื่อนภูมิพล๑๓.๐๐ น. - ออกเดินทาง๑๔.๓๐ น. - สักการะศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชและนั่งรถชมทัศนียภาพริมแม่น้ำปิง๑๕.๐๐ น. - ออกเดินทาง๒๐.๐๐ น. - ถึงกรุงเทพฯที่มาhttp://thai.tourismthailand.org/destination-guide/sukhothai-64-796-1.html

สมบัติบางประการของคอลลอยด์ก. ปรากฏการณ์ทินดอลล์ เป็นสมบัติเกี่ยวกับการกระเจิงของแสงเมื่อผ่านคอลลอยด์ เนื่องจากอนุภาคของคอลลอยด์มีขนาดใหญ่ เมื่อแสงตกกระทบถูกอนุภาคของคอลลอยด์จะทำให้เกิดการกระเจิงของแสง ทำให้มองเป็นลำแสงผ่านคอลลอยด์นั้น แต่ถ้าให้แสงผ่านสารละลายจะไม่เกิดการกระเจิงของแสง ไม่เห็นลำแสงผ่านสารละลายเนื่องจากอนุภาคของสารละลายมีขนาดเล็กเกิดไป เมื่อแสงตกกระทบถูกอนุภาคของสารละลายจึงไม่เกิดการกระเจิงของแสงปรากฏการณ์ที่แสงตกกระทบคอลลอยด์ แล้วทำให้เกิดการกระเจิงของแสง ทำให้มองเห็นลำแสงผ่านในคอลลอยด์ เรียกว่า “ปรากฏการณ์ทินดอลล์ (Tyndall Effect)” ซึ่งพบโดย จอห์น ทินดอลล์ (John Tyndall) นักวิทยาศาสตร์ชาวไอร์แลนด์ ในปี พ.ศ. 2412ดังนั้นจึงสามารถใช้ ปรากฏการณ์ทินดอลล์สำหรับทดสอบว่าสารนั้นเป็นสารละลาย หรือคอลลอยด์ได้สมบัติเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ จากการศึกษาพบว่าอนุภาคคอลลอยด์จะกระจายไปทั่วในตัวกลาง และมีการเคลื่อนที่เสมอจึงทำให้คอลลอยด์ไม่ตกตะกอน การเคลื่อนที่ของคอลลอยด์นั้นพบว่ามีลักษณะเป็นแบบ Brownian movement คือ การเคลื่อนที่แบบระเกะระกะไม่เป็นระเบียบ หรือการเคลื่อนที่อย่างไม่มีแบบแผน ในทำนองเดียวกับการเคลื่อนที่ของก๊าซ ทั้งนี้เพราะการเคลื่อนที่ของคอลลอยด์อาจจะชนกันเอง หรืออาจจะถูกชนด้วยโมเลกุลของของเหลว จึงทำให้มีทิศทางการเคลื่อนที่ไม่แน่นอนสมบัติเกี่ยวกับประจุไฟฟ้า อนุภาคคอลลอยด์สามารถจะมีประจุไฟฟ้าซึ่งจะทำให้คอลลอยด์นั้นอยู่ในสภาวะที่เสถียรยิ่งขึ้น เช่น Fe(OH)3 สามารถรวมกับ H+ กลายเป็นคอลลอยด์ที่มีประจุไฟฟ้าบวก หรือกรณี As2S3 สามารถรวมกับ OH- กลายเป็นคอลลอยด์ที่มีประจุไฟฟ้าลบ ประจุไฟฟ้าเหล่านี้จะเกิดขึ้นที่บริเวณผิวของคอลลอยด์ซึ่งจะป้องกันไม่ให้คอลลอยด์เหล่านี้มารวมกันกลายเป็นอนุภาคที่มีขนาดใหญ่กว่าคอลลอยด์สมบัติเกี่ยวกับประจุไฟฟ้าของคอลลอยด์ ซึ่งอาศัยหลักของการดูดซับอิออนที่ผิวของคอลลอยด์นี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น ใช้แยกสารผสมออกจากกัน หรือใช้ทำสารให้บริสุทธิ์ได้ ตัวอย่างเช่น การแยกสารที่มีสีออกจากของผสม ให้ใช้ผงถ่านใส่ลงไปแล้วทำให้ร้อนขึ้น ผงถ่านที่มีพื้นที่ผิวมากจะดูดซับสารที่มีสีออกจากของผสมได้ เป็นต้นประเภทของคอลลอยด์อนุภาคของคอลลอยด์อาจจะเป็นของแข็ง ของเหลว หรือ ก๊าซ กระจายอยู่ในตัวกลาง ซึ่งอาจจะเป็น ของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซก็ได้ คอลลอยด์อาจจะแบ่งเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้ก. ซอลส์ (Sols) หมายถึง คอลลอยด์ที่อนุภาคคอลลอยด์เป็นของแข็งอยู่ในของเหลว เช่น AgCl ในน้ำ กำมะถันในน้ำ เป็นต้นข. อิมัลชัน (Emulsion) หมายถึง คอลลอยด์ที่อนุภาคคอลลอยด์เป็นของเหลวอยู่ในของเหลว เช่น น้ำมันในน้ำส้มสายชู และนมผสมกับครีมค. เจล (Gel) หมายถึง คอลลอยด์ที่อนุภาคคอลลอยด์เป็นของแข็งอยู่ในของเหลว แต่เป็นพวกที่มีขนาดโมเลกุลใหญ่ (ใหญ่กว่าซอลส์) โดยมากจะมีพันธะหรือแรงยึดเหนี่ยวเชื่อมโมเลกุลใหญ่ ๆ เหล่านี้อยู่ด้วยกัน เมื่อนำโมเลกุลเหล่านี้ไปละลายในตัวทำละลาย มักจะได้สารที่มีลักษณะเหมือนกาว เช่น โปรตีน แป้งง. แอโรซอลส์ (Aerosol) หมายถึง คอลลอยด์ซึ่งอนุภาคคอลลอยด์จะเป็นของแข็งหรือของเหลวก็ได้อยู่ในก๊าซ เช่น สเปรย์ยาฆ่าแมลง เมฆ ฝุ่นละออง ควันจ. โฟมของเหลว (Liquid foam) หมายถึง คอลลอยด์ที่อนุภาคคอลลอยด์เป็นก๊าซ อยู่ในของเหลว เช่น ฟองสบู่ฉ. โฟมของแข็ง (Solid foam) หมายถึง คอลลอยด์ที่อนุภาคคอลลอยด์เป็นก๊าซอยู่ในของแข็ง เช่น ฟองน้ำคอลลอยด์ในชีวิตประจำวันในชีวิตประจำวันจะเห็นสิ่งต่าง ๆมากมายรอบ ๆ ตัวที่จัดว่าเป็นคอลลอยด์ ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และที่สร้างขึ้นมา เช่น เมฆที่ลอยอยู่บนท้องฟ้า หมอกที่ลอยอยู่ในอากาศในช่วงฤดูหนาว เมฆและหมอกเป็น คอลลอยด์อย่างหนึ่งที่มีไอน้ำเป็นอนุภาคกระจายอยู่ในอากาศควันบุหรี่ ซึ่งเป็นอนุภาคของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรืออนุภาคที่เจือปนอยู่ในอากาศที่เรียกว่ามลพิษ ก็เป็นคอลลอยด์อย่างหนึ่ง การที่จะแยกมลพิษเหล่านี้ออกจากอากาศจะต้องอาศัยหลักการดูดซับอิออนของคอลลอยด์ คือ ทำให้อนุภาคเหล่านั้นเป็นประจุไฟฟ้าก่อนแล้วจึงผ่านเข้าไปในเครื่องมือที่มีขั้วไฟฟ้า ขั้วไฟฟ้าที่มีประจุตรงข้ามกับอนุภาคคอลลอยด์ จะดูดเอาอนุภาคนั้นซึ่งเป็นมลพิษไว้ ทำให้อากาศที่ผ่านออกมาบริสุทธิ์ วิธีการแยกคอลลอยด์ ที่มีประจุออกมาโดยใช้ไฟฟ้าเรียกว่า อิเล็กโตรฟอริซีส (Electrophoresis)นอกจากนี้ยังสามารถเตรียมคอลลอยด์ได้โดยการเติมสารที่เรียกว่า “อิมัลซิฟายเออร์” ลงไปสำหรับคอลลอยด์ที่เรียกว่า อิมัลชัน ซึ่งเกิดจากของเหลวสองชนิด ละลายในกันและกัน อาจจะเตรียมจากของเหลว 2 ชนิด ที่ไม่ละลายซึ่งกันและกันได้ โดยการเติมสารที่เหมาะสมบางชนิดลงไป เพื่อเป็นตัวประสานให้อนุภาคของของเหลวทั้ง 2 ชนิด แทรกกันอยู่ได้ เป็นคอลลอยด์ที่เรียกว่า อิมัลชัน สารที่เป็นตัวประสานดังกล่าวเรียกว่า “อิมัลซิฟายเออร์ (Emulsifier)”ตัวอย่างเช่น น้ำกับน้ำมันพืชไม่ละลายซึ่งกันและกัน เมื่อผสมกันจะแยกเป็น 2 ชั้น เมื่อเขย่าแรง ๆ น้ำและน้ำมันจะกระจายแทรกกันและกัน ซึ่งทำให้ดูเหมือนกับมีการละลายเกิดขึ้นก็ตาม แต่ความจริงน้ำกับน้ำมันจะไม่ละลายกัน การเขย่าทำให้น้ำมันแตกตัวกลายเป็นอนุภาคที่มีขนาดเล็ก และกระจายเข้าไปในน้ำได้ เกิดสภาพเป็นคอลลอยด์ แต่มีลักษณะที่ไม่เสถียร เพราะเมื่อปล่อยทิ้งไว้น้ำและน้ำมันก็จะแยกชั้นเหมือนเดิม ถ้าต้องการให้น้ำและน้ำมันรวมตัวกันเป็นคอลลอยด์ที่เสถียรขึ้นต้องเติมอิมัลซิฟายเออร์ลงไป เช่น เติมน้ำสบู่ลงไป น้ำสบู่จะทำหน้าที่ประสานอนุภาคของน้ำและน้ำมันให้เป็นคอลลอยด์ได้การใช้สบู่หรือผงซักฟอกในการซักเสื้อผ้าก็เช่นเดียวกัน อาศัยหลักของอิมัลซิฟายเออร์ โดยมีสบู่หรือผงซักฟอกเป็นอิมัลซิฟายเออร์ ซึ่งทำให้สิ่งสกปรกต่างๆ ทั้งน้ำมันหรือไขมันที่ติดอยู่กับเสื้อผ้ารวมตัวกับน้ำกลายเป็นคอลลอยด์ หลุดจากเสื้อผ้าได้ในอุตสาหกรรมก็ใช้หลักของอิมัลซิฟายเออร์ทำให้เกิดคอลลอยด์เหมือนกัน เช่น น้ำสลัดซึ่งประกอบด้วยน้ำมันพืช น้ำส้มสายชู และน้ำ เมื่อใช้เครื่องตีสารเหล่านั้นจนเข้ากันดีจะได้เป็นคอลลอยด์ แต่ถ้าปล่อยทิ้งไว้น้ำมันพืชจะแยกชั้นออกมา จึงต้องมีการเติมไข่แดงลงไปเพื่อเป็น อิมัลซิฟายเออร์ ทำให้ของเหลวทั้งสามรวมตัวกันเป็นคอลลอยด์ที่เสถียรได้น้ำนมก็เป็นคอลลอยด์เช่นเดียวกัน ประกอบด้วยไขมันสัตว์กระจายอยู่ในน้ำ โดยมีเคซีนซึ่งเป็นโปรตีนชนิดหนึ่ง เป็นอิมัลวิฟายเออร์ สำหรับการทำคอลลอยด์ที่เกิดจากของเหลว 2 ชนิด ซึ่งไม่ละลายในกันและกัน เช่น น้ำนม ที่เรียกว่า โฮโมจีไนส์ อาจจะไม่ต้องใช้อิมัลซิฟายเออร์ก็ได้ โดยการใช้วิธีโฮโมจีไนเชชัน ซึ่งเป็นการอัดน้ำนมผ่านช่องเล็ก ๆ ด้วยความดันสูงทำให้ไขมันในน้ำแตกออกเป็นอนุภาคเล็ก ๆ รวมกับน้ำเป็นคอลลอยด์ที่อยู่ตัวได้ในร่างกายของคนก็เช่นเดียวกัน มีสารซึ่งเป็น อิมัลซิฟายเออร์ ทำหน้าที่ให้ไขมันหรือน้ำมันรวมตัวกับน้ำย่อยในระบบย่อยอาหาร ซึ่งเป็นผลให้ร่างกายสามารถย่อยอาหารเหล่านั้นได้ อิมัลซิฟายเออร์ดังกล่าวคือ น้ำดีการมองเห็นลำแสงที่ผ่านเข้าทางหน้าต่างก็เกี่ยวข้องกับระบบคอลลอยด์ เพราะในอากาศมีฝุ่นละอองซึ่งเป็นคอลลอยด์แพร่ปนอยู่ เมื่อแสงมากระทบกับคอลลอยด์จะเกิดการกระเจิงขึ้น ทำให้เห็นลำแสงผ่านเข้ามาซึ่งเรียกว่า ปรากฏการณ์ทินดอลล์ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว การฉายไฟฉายในเวลากลางคืนจะเห็นลำแสงก็อธิบายด้วยหลักการของปรากฏการณ์ทินดอลล์ได้เช่นเดียวกัน ในขณะที่ฉายไฟฉายในเวลากลางคืนหลังฝนตกใหม่ ๆ จะมองไม่เห็นลำแสง เพราะในขณะที่ฝนตกได้ชะล้างฝุ่นละอองที่เป็นคอลลอยด์ออกไปหมด เมื่อฉายไฟฉายเข้าไปไม่กระทบกับคอลลอยด์ ทำให้ไม่มีการกระเจิงของแสง จึงมองไม่เห็นลำแสงของไฟฉาย หรือในอวกาศซึ่งไม่มีระบบคอลลอยด์อยู่ นักบินอวกาศจะมองเห็นท้องฟ้าในอวกาศเป็นสีดำ ทั้ง ๆ ที่มีแสงอาทิตย์ผ่าน ก็เพราะ ไม่มีคอลลอยด์ที่จะทำให้เกิดการกระเจิงของแสงนั่นเอง
ที่มา
http://www.airphy.blogspot.com/
เขียนโดย ด.ญ. วรรณภา บุกล่า